เลือกตั้ง อบจ.และ ส.อบจ.

ประกาศผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัด เรื่อง ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ข่าวประชาสัมพันธ์
21 ธันวาคม 2567

ด้วยผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยความเห็นชอบของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำ https://stat.bora.dopa.go.th/Election/enqelectloc/#/จังหวัด มีรายละเอียดดังนี้

(1) วันเลือกตั้ง วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

(2) ระยะเวลาสมัครรับเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ถึงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2567

(3) สถานที่รับสมัคร ณ สถานที่ที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำหนด

(4) จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่จะมีการเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้ง หรือนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตเลือกตั้ง

(5) จำนวนเขตเลือกตั้ง ซึ่งเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

(6) หลักฐานการสมัครรับเลือกตั้ง

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ขอเชิญชวนประชาชนที่สนใจสามารถดูรายละเอียดประกาศดังกล่าวได้ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ และสถานที่อื่นตามที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัดเห็นสมควร หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด

หมายเหตุ : จังหวัดที่ผู้บริหารท้องถิ่น (นายก อบจ.) พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระ จำนวน 29 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด สระแก้ว กาญจนบุรี เลย นครสวรรค์ พะเยา พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท ชัยภูมิ อ่างทอง พิษณุโลก ราชบุรี ปทุมธานี ยโสธร ระนอง อุทัยธานี ชุมพร สุโขทัย ขอนแก่น สุรินทร์ อุดรธานี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช กำแพงเพชร ตาก เพชรบูรณ์ อุบลราชธานี และอุตรดิตถ์ ทำให้ 29 จังหวัดดังกล่าว จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพียงอย่างเดียวในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

เลือกตั้ง อบจ. มีบัตรสองใบแต่ไม่จำเป็นต้องเลือกพร้อมกัน

โครงสร้างอำนาจขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ( อบจ.) ที่ประกอบไปด้วยสองฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ที่เรียกว่า “สภา องค์การบริหารส่วนจังหวัด ( ส.อบจ.) ” และฝ่ายบริหาร ที่เรียกว่า “นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ( นายก อบจ.) ” ทั้งสองฝ่ายแบ่งแยกอำนาจกับอย่างชัดเจนไม่ต้องรับผิดชอบต่อกันและกัน

ด้วยเหตุนี้เองทำให้การเลือกตั้ง องค์การบริหารส่วนจังหวัด ( อบจ.) มีบัตรเลือกตั้งสองใบ คือการเลือกนายก อบจ. และการเลือกสมาชิกสภา อบจ. ซึ่งไม่จำเป็นต้องเลือกพร้อมกัน และวาระการดำรงตำแหน่งก็ไม่จำเป็นต้องเริ่มและสิ้นสุดพร้อมกัน

พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด มาตรา 35 กำหนดว่า นายก อบจ.มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน โดยมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งครั้งละสี่ปีนับตั้งแต่วันเลือกตั้ง โดยหากนายก อบจ.ดำรงตำแหน่งจนครบวาระสี่ปีก็จะพ้นจากตำแหน่ง และจะต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วัน

ที่ผ่านมา มีนายก อบจ. อย่างน้อย 29 จังหวัด ที่ลาออกหรือพ้นตำแหน่งด้วยวิธีอื่นๆ ก่อนครบวาระ ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งนายก อบจ.หลังจากนายก อบจ.คนดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งภายใน 60 วัน โดยผู้ที่ได้รับเลือกตั้งก็จะเริ่มนับวาระการดำรงตำแหน่งใหม่นับตั้งแต่วันเลือกตั้งจนหมดวาระสี่ปี 

ประชาชนสามารถตรวจสอบสิทธิ์ของตนเองได้ง่าย ๆ ผ่านระบบออนไลน์ ของสำนักงานการเลือกตั้ง ตามลิงค์ นี้ https://stat.bora.dopa.go.th/Election/enqelectloc/#/

Scroll to Top