คดีบุกรุก

บุกรุก

การบุกรุก เป็นการกระทำที่เข้าข่ายความผิดทางอาญาในหลายประเภท ซึ่งเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ดินหรืออาคารสถานที่ โดยทั่วไป การบุกรุกสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามลักษณะการกระทำและเจตนาของผู้กระทำผิด

ความผิดฐานบุกรุก

ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทยได้บัญญัติความผิดฐานบุกรุกไว้หลายมาตรา เช่น

  • มาตรา 362: ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  
  • มาตรา 364: ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่น หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

ลักษณะของการบุกรุก

  • การบุกรุกเข้าไปครอบครอง: การเข้าไปในที่ดินหรืออาคารของผู้อื่นเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของหรือครอบครอง
  • การบุกรุกเข้าไปรบกวนการครอบครอง: การเข้าไปกระทำการใด ๆ ที่ทำให้เจ้าของที่ดินหรืออาคารไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของตนได้ตามปกติ
  • การบุกรุกเคหสถาน: การเข้าไปในบ้านหรือที่พักอาศัยของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร

องค์ประกอบความผิดฐานบุกรุก

เพื่อให้การกระทำใด ๆ จะถือว่าเป็นความผิดฐานบุกรุก ต้องมีองค์ประกอบครบถ้วนดังนี้

  • ผู้กระทำผิด: บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
  • วัตถุของความผิด: อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เช่น ที่ดิน อาคาร บ้าน
  • การกระทำ: การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยไม่มีสิทธิ
  • เจตนา: มีเจตนาที่จะเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุก

  • การป้องกัน: ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัย เช่น กล้องวงจรปิด รั้ว กำแพง ประตูที่แข็งแรง
  • การแก้ไข: หากเกิดเหตุการณ์การบุกรุก ควรรีบแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย

หมายเหตุ: บทความนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับความผิดฐานบุกรุกเท่านั้น หากมีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษาเรื่องทางกฎหมาย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย

ขั้นตอนการดำเนินคดีบุกรุก

การดำเนินคดีบุกรุกในประเทศไทยมีขั้นตอนที่ชัดเจนและเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการอย่างรอบคอบเพื่อให้การพิจารณาคดีมีความยุติธรรมและโปร่งใส

ขั้นตอนการดำเนินคดีบุกรุก

  1. การแจ้งความ:

    • เมื่อเกิดการบุกรุก เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้เสียหายสามารถแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุด

    • ผู้แจ้งความต้องระบุรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น วันเวลา สถานที่ และลักษณะของการกระทำผิด

  2. การรับแจ้งความ:

    • เจ้าหน้าที่ตำรวจจะรับแจ้งความและบันทึกข้อมูลในบันทึกประจำวัน

    • เจ้าหน้าที่จะสอบปากคำผู้แจ้งความเพื่อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม

  3. การสืบสวนสอบสวน:

    • เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเริ่มต้นการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน

    • การสืบสวนอาจรวมถึงการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ การสอบปากคำพยาน และการเก็บรวบรวมหลักฐานทางกายภาพ

  4. การจับกุมผู้ต้องสงสัย:

    • หากพบว่ามีมูลความผิด เจ้าหน้าที่ตำรวจจะออกหมายจับและทำการจับกุมผู้ต้องสงสัย

    • ผู้ต้องสงสัยจะถูกนำตัวสอบสวนเพิ่มเติมและฝากขังในสถานที่ที่เจ้าหน้าที่กำหนด

  5. การส่งสำนวนการสืบสวนให้พนักงานอัยการ:

    • เมื่อการสืบสวนเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจะจัดทำสำนวนการสืบสวนที่รวมถึงพยานหลักฐานทั้งหมดและรายงานการสอบสวน

    • สำนวนการสืบสวนจะถูกส่งไปยังพนักงานอัยการเพื่อตรวจสอบและพิจารณาการฟ้องร้อง

  6. การพิจารณาคดีในศาล:

    • พนักงานอัยการจะนำคดีเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล

    • ศาลจะพิจารณาหลักฐานและพยานที่เกี่ยวข้อง และตัดสินว่าผู้ต้องหามีความผิดหรือไม่

  7. การตัดสินและการลงโทษ:

    • หากศาลพิจารณาว่าผู้ต้องหามีความผิด ศาลจะตัดสินและกำหนดโทษตามกฎหมาย

    • โทษสำหรับการบุกรุกอาจรวมถึงการจำคุก การปรับ หรือการชดเชยความเสียหาย

  8. การยื่นอุทธรณ์:

    • หากฝ่ายใดไม่พอใจกับคำตัดสินของศาล สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ได้

    • หากยังไม่พอใจกับคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ สามารถยื่นฎีกาต่อศาลฎีกาได้

สิทธิของผู้ต้องสงสัย:

  • ผู้ต้องสงสัยมีสิทธิ์ที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม

  • ผู้ต้องสงสัยมีสิทธิ์ที่จะมีทนายความในการป้องกันตนเองและสามารถนำเสนอพยานหลักฐานเพื่อป้องกันตนเองได้

การต่อสู้คดีบุกรุกในชั้นศาล

การต่อสู้คดีบุกรุกเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่จำเป็นต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในกฎหมายและหลักฐานอย่างละเอียด ขั้นตอนโดยทั่วไปมีดังนี้

1. การได้รับแจ้งข้อกล่าวหา:

  • หมายเรียก: จำเลยจะได้รับหมายเรียกจากศาลให้ไปฟังคำสั่งหรือเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดี
  • อ่านคำฟ้อง: ศาลจะอ่านคำฟ้องที่โจทก์ยื่น ซึ่งจะระบุข้อเท็จจริงที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิด

2. การให้การเบื้องต้น:

  • ปฏิเสธข้อกล่าวหา: จำเลยมีสิทธิที่จะปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดหรือบางส่วน
  • ยื่นคำให้การ: จำเลยสามารถยื่นคำให้การเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ตนไม่กระทำความผิด

    3. การสืบพยาน:

    • สืบพยานโจทก์: โจทก์จะนำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำความผิดจริง
    • สืบพยานจำเลย: จำเลยจะนำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์และพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน

      . การแถลงปิดคดี:

      • ทนายความทั้งสองฝ่าย: ทนายความของทั้งสองฝ่ายจะทำการแถลงปิดคดีโดยสรุปพยานหลักฐานและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

      5. คำพิพากษา:

      • ศาลพิจารณา: ศาลจะพิจารณาพยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายนำเสนอมา
      • ออกคำพิพากษา: ศาลจะออกคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่มีความผิด และมีโทษอย่างไร

      ในการต่อสู้คดี

      • รวบรวมพยานหลักฐาน: จำเลยควรเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทุกอย่างที่สามารถนำมาใช้ในการต่อสู้คดี เช่น พยานบุคคลเอกสาร ภาพถ่าย วิดีโอ ฯลฯ
      • ปรึกษาทนายความ: การปรึกษาทนายความที่มีความเชี่ยวชาญด้านคดีอาญาจะช่วยให้จำเลยเข้าใจกระบวนการทางกฎหมายและวางแผนการต่อสู้คดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      • เตรียมพร้อมในการสืบพยาน: จำเลยควรเตรียมตัวให้พร้อมในการตอบคำถามของทนายความฝ่ายโจทก์และศาล
      • ยื่นอุทธรณ์: หากไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์
 
สำหรับแนวทางการต่อสู้คดี มีดังนี้

1.จำเลยไม่ได้เข้าไปในที่เกิดเหตุเป็นการต่อสู้คดีอ้างฐานที่อยู่
จำเลยไม่ได้เข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายตามที่ถูกกล่าวหา อาจมีพยานบุคคลหรือพยานหลักฐานอื่น เช่น กล้องวงจรปิดมายืนยัน
จำเลยอยู่ในสถานที่อื่นในช่วงเวลาที่เกิดเหตุ
ผู้เสียหายจำคนผิดพลาด หรือเข้าใจผิดไปเองว่าจำเลยเข้าไปพร้อมกับคนอื่น
2.ได้รับความยินยอมให้เข้าในที่เกิดเหตุ
ฝ่ายผู้เสียหายยินยอมให้เขาไปตั้งแต่แรก เช่นบอกว่าเดี๋ยวค่อยมาเจอกันดึกๆ เดี๋ยวพรุ่งนี้ให้เข้ามา ฎ.951/2529 ฎ.32/2536
จำเลยได้รับอนุญาตจากบุคคลอื่นผู้มีสิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ให้เข้าไปในสถานที่นั้น เช่น เจ้าของบ้าน ผู้เช่า สามี ภรรยา บุคคลผู้ให้ความดูแล ฎ.3712/2531 ,5177/2549 ฎ.704/2536
หรือแม้กระทั่งเป็นชู้ ภรรยาเป็นคนพาเข้าไปในบ้านถึงแม้สามีจะเป็นเจ้าของบ้านก็ยังไม่ถึงขั้นบุกรุก
ยกเว้นว่าจะรู้อยู่แล้วว่าคนที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงประกาศห้ามเข้า หรือห้ามโดยชัดแจ้งไม่ให้เข้า แล้วยังเข้าไปแบบนี้ก็อาจจะถือว่าเป็นความผิดได้ ฎ.279/2539
มีลักษณะเป็นการเข้าออกอยู่บ่อยครั้งเป็นประจำ ไม่เคยห้ามปราม ฎ.5428/2540
มีลักษณะเป็นการให้ความยินยอมโดยปริยาย เข้าไปก็ไม่ว่าอะไร
ภายหลังเมื่อถูกเพิกถอนความยินยอม หรือทราบว่าเจ้าของไม่ให้ความยินยอมก็ออกทันที
ต้องดูให้ดีด้วยตอนแรกอาจจะมีสิทธิ์เข้าไปเพราะเขายินยอมแต่ถ้าเขาไล่ก็ต้องออก ถ้าเขาไล่แล้วไม่ออกก็จะเป็นความผิด ตามมาตรา 364
3.ผู้เสียหายไม่ใช่เจ้าของ/ไม่มีสิทธิ์ครอบครองหรือกรรมสิทธิ์
ผู้เสียหายไม่ใช่ผู้มีสิทธิ์การเช่า ไม่ได้เป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครอง ไม่มีกรรมสิทธิ์
ที่เกิดเหตุเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ใช่ของผู้เสียหาย
เช่น เป็นที่ดินของกรมชลประทาน เป็นที่สาธารณสมบัติที่ทุกคนต้องใช้ร่วมกัน เป็นที่นาอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่ได้จัดให้เป็นที่ทำกินของราษฎร เป็นที่ดินสปก.ที่ทางสปกยังไม่ได้อนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ฎ.723/2509 ฎ.9132/2544 ฎ.3600/2554 ฎ.4132/2550 ฎ.3884/2556 ฎ.172/2535

ผู้เสียหายเพิ่งซื้อทรัพย์สินมาทีหลัง จำเลยเข้าไปอยู่ก่อนหน้านี้นานแล้ว และความผิดฐานบุกรุกไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง ดังนั้นผู้เสียหายจึงไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินในขณะที่จำเลยกระทำความผิด (ต้องไปฟ้องขับไล่เป็นคดีแพ่ง) ฎ.1881/2538 ฎ.2244/2532 ฎ.1552/2535 ฎ.1552/2535
ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้กรรมสิทธิ์ด้วยการครอบครองปรปักษ์แล้ว เสียหายไม่ใช่เจ้าของอีกต่อไป ฎ433/2458
ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้แย่งสิทธิที่ดินมือเปล่าเกินกว่า 1 ปีแล้ว ผู้เสียหายย่อมหมดสิทธิ์ในที่ดินแปลง ฎ.2137/2530 ฎ.3816/2538
4.สถานที่เกิดเหตุเป็นสาธารณสถาน ไม่ใช่เคหสถาน
กรณีสถานที่ดังกล่าวเป็นสาธารณะสถานที่บุคคลทั่วไปเข้าไปได้อยู่แล้ว เช่นเป็นร้านอาหาร สำนักงานทนายความ ร้านเสริมสวย คาราโอเกะ ร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆ การเข้าไปย่อมไม่เป็นความผิดฐานบุก

ประเด็นก็คือ

ต้องดูเวลาเปิด-ปิดทำการด้วย
ต้องดูบริเวณที่เข้าไปด้วยว่าเป็นบริเวณที่เขาเปิดให้เข้าไปไหม
5.ไม่ได้มีเจตนาพิเศษ / มีเหตุสมควร
ม่ได้เข้าไปถือการครอบครองหรือแย่งการครอบครอง ม.362
ไม่ได้เป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์โดยปกติสุข ม.362
มีเหตุสมควรที่จะเข้าไปได้ ม.364
ตัวอย่างเช่น

เข้าไปกลับรถในที่ดินแป๊บเดียว โดยไม่ได้เกิดความเสียหายใดๆ
เตะบอลแล้วลูกบอลเข้าไปในที่ดินวิ่งเข้าไปเก็บลูกบอลแป๊บเดียว
แมวหายเข้าไปตามแมว
ถือวิสาสะผ่านทาง ดังเช่นที่คนอื่นๆใช้ผ่านมา
เข้าไปเพื่อเป็นการหลบภัยถูกทำร้าย ถูกทำอันตรายจากที่อื่นมา
เป็นสามีเข้าไปติดตามภรรยาเพราะมีเหตุอันควร ฎ.6506/2542 ฎ.2075/2529
เข้าไปติดตามตัวบุตรผู้เยาว์ 473/2522
6.มีอำนาจตามกฎหมายที่เข้าไปได้
มีภารกิจจำเป็นต้องเข้าไป เช่น เจ้าพนักงานมีหมายค้น หรือมีอำนาจค้นได้โดยไม่มีหมายค้นกรณีเป็นเจ้าหน้าที่ปปปส หรือพบความผิดซึ่งหน้าในเคหสถาน ฎ.1194/2517 ฎ.4711/2542
มีอำนาจที่ระบุไว้ตามกฎหมายอื่นๆ เช่นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการเข้าครอบครองทรัพย์
การให้ความยินยอมไว้ล่วงหน้าตามที่ระบุไว้ในสัญญา หรือข้อตกลง ฎ.3025/2541 ฎ. 5396/2549 แต่ในกรณีสัญญาเช่า แต่ปัจจุบันอาจจะใช้บังคับไม่ได้แล้วเพราะว่ามีการประกาศว่าธุรกิจการเช่าเป็นธุรกิจควบคุมแล้วก็ห้ามไม่ให้ ระบุไว้ในสัญญาเช่นนี้ แต่ถ้าเป็นสัญญาประเภทอื่นก็อาจจะยังถือว่าใช้บังคับได้อยู่ เช่นสัญญาให้พักอาศัยฟรี หรือสัญญาต่างตอบแทนประเภทอื่น
มีเหตุภยันตราย ภายในอสังหาริมทรัพย์นั้นเช่นเกิดเพลิงไหม้ เข้าไปช่วยดับเพลิง
มีคนถูกทำร้ายอยู่ภายในที่เกิดเหตุ เห็นเจ้าของบ้านกำลังทำร้าย หรือทำร้ายบุคคลอื่นอยู่ จึงเข้าไปช่วย
7.สำคัญผิด – เชื่อโดยสุจริต
ไม่รู้ว่าเป็นที่ดินหรือเคหสถานของบุคคลอื่น เช่นซื้อที่ดินมาโดยที่ยังไม่ได้รังวัด
สร้างรั้วในที่ดินโดยเข้าใจว่าเป็นของตนเอง 3060/2525 ฎ.6303/2539
เช่นเราเป็นช่าง เข้าไปรื้อของ เข้าใจว่าคนที่พาเข้าไปเป็นเจ้าของ โดยเข้าใจโดยสุจริต ฎ.3115/2526
เข้าใจว่ามีสิทธิ์อยู่และสิทธิครอบครองได้โดยชอบ โดนหลอกขายมา ฎ.291/2537
เดินเข้าผิดบ้าน หลงทางเข้ามา
8.เป็นเพียงเรื่องการผิดสัญญาทางแพ่ง
เป็นการอยู่ต่อเนื่องมา จากการที่มีสิทธิ์การเช่า หรือข้อตกลงให้อาศัยอยู่ในที่ดินพิพาท แม้ไม่ออกไปก็ต้องเป็นเรื่องใช้สิทธิ์ทางแพ่งฟ้องร้อง ไม่เป็นบุกรุก เพราะผู้ให้เช่าสละการครอบครองตั้งแต่แรกแล้ว ฎ.2257/2524 ฎ.2720/2551
เป็นเพียงการโต้แย้งสิทธิ์ทางแพ่ง เนื่องจากมีข้อถกเถียงเรื่องกรรมสิทธิ์อยู่ ว่าใครเป็นเจ้าของกันแน่โดยเป็นการโต้เถียงโดยมีเหตุผลมีพยานหลักฐานยืนยัน ฎ.394/2537 ฎ.3548/2539 ฎ.3490/2553
9.ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย
ความผิดฐานบุกรุกเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวอันยอมความได้ ถ้าไม่ใช่เป็นคดีที่มีเหตุฉกรรจ์ตามมาตรา 365

ดังนั้นถ้าผู้เสียหายไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดหรือเป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำความผิด ย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายที่มีอำนาจแจ้งความร้องทุกข์ หรือฟ้องคดีเองโดยตรงต่อศาลได้

ตัวอย่างเช่น

ผู้เสียหายกล่าวท้าทายให้จำเลยเข้าไปในที่เกิดเหตุ หรือทำร้ายเขาก่อนแล้ววิ่งหนีเข้าบ้าน
10.คดีขาดอายุความแล้ว /ตกลงยอมความกันแล้ว
คดีบุกรุก ไม่ว่าจะเป็นมาตรา 362 หรือ 364 อายุความ 3 เดือนเพราะเป็นคดีความผิดยอมความได้

ความผิดบุกรุกไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง เป็นความผิดสำเร็จทันทีนับแต่ครั้งแรกที่เข้าไป

ดังนั้นอายุความ 3 เดือนนับแต่วันที่บุกรุกเข้าไปสำเร็จหากเกินกว่า 3 เดือนแล้วไปฟ้องคดีก็ขาดอายุความ ฎ.2269/2538
10.สู้ประเด็นเรื่องมีการตกลงกันแล้ว
เช่นบุกรุกแล้วต่อมามีการทำข้อตกลงว่าไม่ติดใจเอาความกันทำบันทึกประจำวันหรือทำหลักฐานไว้เป็นหนังสือ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ฎ.67/2524
สรุป
สรุปแล้วเนี่ยในประเด็นข้อต่อสู้ในคดีบุกรุกทั้ง 10 เอาไปปรับใช้ตามข้อเท็จให้หมาะสมกับรูปคดี นอกจากนี้ในแต่ละคดีก็อาจจะมีประเด็นข้อต่อสู้อย่างอื่นที่สามารถหยิบยกมาได้แล้วแต่ประเด็นแล้วแต่รูปคดีอีก

ค่าบริการในการว่าความในศาลชั้นต้น

1. คดีอาญา

ค่าจ้างทนายอาญา กรณีเป็นโจทก์และยื่นฟ้องตรงต่อศาล
1.ค่าทนายอาญา 60,000 บาท ขึ้นไป

ค่าจ้างทนายอาญา กรณีเป็นโจทก์และแจ้งความดำเนินคดี ต่อพนักงานสอบสวน
1. ค่าทนายอาญา 60,000 บาทขึ้นไป
2. ทนายดูแล เฉพาะในชั้นพนักงานสอบสวน 25,000 บาทขึ้นไป

ค่าทนายอาญากรณีเป็นจำเลย
1. ค่าดำเนินดูแลคดี 50,000 บาทขึ้นไป
2. ทนายประกันตัวในชั้นพนักงานสอบสวน 25,000 บาทขึ้นไป

ทนายชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา
1.ค่าทนาย ในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา 50,000 บาทขึ้นไป

1. คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา

คดีไม่มีข้อพิพาทหรือคดีไม่มีทุนทรัพย์

เป็นคดีที่มีการร้องขอฝ่ายเดียว เพื่อใช้สิทธิทางกฎหมาย เช่น คดีร้องจัดการมรดก, คดีร้องขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ หรือบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น ค่าว่าความคิดขั้นต่ำคดีละ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)

หมายเหตุ กรณีมีการคัดค้านหรือมีการต่อสู้คดี ก็จะมีการตกลงกันอีกครั้ง

คดีมีข้อพิพาท หรือคดีมีทุนทรัพย์

กรณีที่ท่านเป็นโจทก์หรือโจทก์ร่วม ท่านต้องชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีดังต่อไปนี้

คดีทุนทรัพย์ (บาท)ค่าทนายความ (บาท)ค่าวิชาชีพ(บาท)ค่าบังคับคดี   (ร้อยละ)
ไม่เกิน 50,000ขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณีขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณี30
50,001 ถึง 100,00015,00010,00030
100,001 ถึง 300,00030,00012,00030
300,001 ถึง 500,00035,00014,00030
500,001 ถึง 800,00040,00015,00020
800,001 ถึง 1,000,00045,00017,00020
1,000,001 ถึง 2,000,00050,00018,00010

2,000,001 ถึง 3,000,000

60,00019,00010
3,000,001 บาทขึ้นไปขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณีขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณี10

เงื่อนไขการดำเนินงาน
1. ท่านต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียม(ค่าขึ้นศาล)และค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการนำส่งคำ คู่ความเองเป็นค่าธรรมเนียมตามปกติของศาล

(ตามใบเสร็จรับเงิน) ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

คดีมโนสาเร่ ทุนทรัพย์ที่ฟ้อง ไม่เกิน 300,000 บาท เสียค่าขึ้นศาลไม่เกิน 1,000 บาท
คดีมีแพ่งสามัญ ทุน ทรัพย์ที่ฟ้อง ไม่เกิน 50 ล้านบาท เสียค่าขึ้นศาล ร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท
ขึ้นไป เสียค่าขึ้นศาล ร้อยละ 0.1 บาท
ค่านำหมาย,ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ (ถ้ามี),ค่าพาหนะของพยานหมาย (ถ้ามี)เป็นต้น
2. ท่านต้องชำระค่าทนายความตามทุนทรัพย์ก่อนที่จะทำคำฟ้องยื่นต่อศาล
3. ค่าบังคับคดี  จะเรียกเก็บจากท่านต่อเมื่อมีการบังคับคดี หากไม่มีการบังคับคดีท่านไม่ต้องจ่ายค่าบังคับคดี
4. ค่าว่าความ (อัตราร้อยละ)  คิดตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง (ตามฟ้อง) และ จะเรียกเก็บจากท่านต่อเมื่อ

ท่านได้รับเงินจากลูกหนี้หรือจำเลยแล้ว(ตามเกณฑ์เงินสดที่ท่านได้รับ)
5. กรณีทนายความไปศาลต่างจังหวัด บริษัทฯ จะเรียกเก็บอัตราค่าเดินทางไปศาลในแต่ละครั้ง ตามอัตราดังต่อไปนี้

ระยะทาง ไม่เกิน 300 กม. คิดค่าเดินทาง = 3,500 บาท
ระยะทาง 300 – 500 กม. คิดค่าเดินทาง = 4,500 บาท
ระยะทาง 500 กม. ขึ้นไป คิดค่าเดินทาง = 6,500 บาท
***สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร ท่านไม่ต้องชำระค่าเดินทางในส่วนนี้
หมายเหตุ

ค่าเดินทางดังกล่าวไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าที่พัก,ค่าตั๋วรถเดินทาง,ค่าน้ำมันรถยนต์,ค่าธรรมเนียมอื่นๆที่ทางราชการ หรือเอกชน

ออกให้ (ตามใบเสร็จรับเงิน)
6. คดีนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว จะตกลงกันตามความยากง่ายของการดำเนินคดี
7. การว่าจ้างมีการทำสัญญาว่าจ้างว่าความทุกครั้ง เพื่อให้ท่านเกิดความมั่นใจในการจ้างทนายความ

กรณีที่ท่านเป็นจำเลยหรือจำเลยร่วมในคดีแพ่ง
ในคดีที่มีการร้องสอดหรือร้องคัดค้านให้เป็นคดีมีข้อพิพาท คิดค่าว่าความ จำนวน 15,000 บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

คดีที่ท่านถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีแพ่ง
ก.) คดีที่มีข้อพิพาทจากมูลละเมิด คิดค่าว่าความขั้นต่ำ ตั้งแต่ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ขึ้นไป
ข.) คดีที่มีข้อพิพาทจากนิติกรรมสัญญา คิดค่าว่าความขั้นต่ำ ตั้งแต่ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ขึ้นไป

ต่างจังหวัด ท่านต้องชำระค่าเดินทาง ตามอัตราดังต่อไปนี้

ระยะทาง ไม่เกิน 300 กม. คิดค่าเดินทาง = 2,500 บาท
ระยะทาง 300 – 500 กม. คิดค่าเดินทาง = 3,000 บาท
ระยะทาง 500 กม. ขึ้นไป คิดค่าเดินทาง = 4,000 บาท

หมายเหตุ

กรณีพิจารณาคดีออนไลน์ไม่มีค่าพาหนะ

ค่าเดินทางดังกล่าวไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่ทางราชการหรือเอกชนออกให้ (ตามใบเสร็จรับเงิน)

หรือ ในราคาตกลงกัน แล้วแต่กรณี

Scroll to Top