คำพิพากษาศาลปกครองที่น่าสนใจ

คำพิพากษาศาลปกครองที่น่าสนใจ

ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษา ตามคดีหมายเลขดำที่ 2120 / 2567 คดีหมายเลขแดงที่ 2682 / 2567

ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2567 

ระหว่าง นายอำนาจ แก้วประสงค์ ผู้ฟ้องคดี

กับ กรมการขนส่งทางบก ที่ 1 , อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ที่ 2 , สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ที่ 3 , ฝ่ายทะเบียนสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ที่ 4 , นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่ 5 , สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 6 ผู้ถูกฟ้องคดี
เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่
กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และการกระทำ
ละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่
ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
คดีนี้อธิบดีศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีโดยเร่งด่วนตาม ข้อ 49/2 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธี
พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2543
คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของรถยนต์ ค์ ยี่หัอโตโยต้า (TOVOTA)รุ่นฮารีเออร์ (HARRIER) เลขทะเบียน 5ขณ 300 กรุงเทพมหานคร ต่อมา เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2567 ผู้ฟ้องคดีได้ไปชำระภาษีประจำปีรถยนต์คันดังกล่าวที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 โดยมีผู้ถูกพ้องคดีที่ 5 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่รับชำระค่ากาษีรถยนต์ของผู้ฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 กลับไม่ออกป้ายภาษีวงกลมที่เป็นหลักฐานการชำระภาษีรถยนต์ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ส่งมอบให้เพียงแค่ใบเสร็จชำระเงินค่าภาษีประจำปี โดยประทับตราว่า “ใช้แทนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ออกใบเสร็จรับเงิน ” โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีค้างชำระค่าปรับใบสั่งจราจรจำนวน 500 บาท ในข้อหาขับรถเร็วหรือต่ำกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดและอ้างว่าได้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้กับกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 แจ้งผู้ฟ้องคดีว่าจะต้องไปชำระค่าปรับที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติให้เรียบร้อยก่อน จึงจะสามารถออกหลักฐานป้ายวงกรมฉบับจริงให้แก่ผู้ฟ้องคดีได้ ผู้ฟ้องทดีเห็นว่า การถระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการละเมิดสิทธิและจำกัดสิทธิการใช้รถยนต์ของผู้ฟ้องคดี เนื่องจากหากผู้ฟ้องคดีนำรถยนต์ที่ไม่ติดป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีออกไปใช้ผู้ฟ้องคดีก็จะต้องจ่ายค่าปรับที่ไม่ติดป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษี ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า การค้างชำระค่าปรับจราจรกับการชำระภาษีรถยนต์ประจำเป็นเหตุผลที่ไม่กี่ยวข้องกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ การภาษีรถยนต์เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวรถยนต์ แต่การกระทำผิดกฎจราจรเป็นเรื่องของบุคคล การนำสองเรื่องมาเชื่อมโยงกันจึงไม่ถูกต้อง เพราะบุคคลที่ขับรถยนต์คันดังกล่าวอาจจะไม่ใช่เจ้าของรถยนต์คันที่ค้างชำระค่าปรับใบสั่งจราจรก็เป็นได้ เป็นการบังคับทางอ้อมให้เจ้าของรถยนต์ต้องยินยอมชำระค่าปรับ ทั้งที่ผู้ฟ้องคดียังไม่ได้ใช้สิทธิทางกฎหมายในการโต้แย้งสิทธิต่อสู้คดีทีผู้ฟ้องคดีถูกกล่าวหาว่าขับรถช้าหรือเร็วกว่าที่อัตรากฎหมายกำหนดไว้อย่างไร ทั้งนี้ศาลปกครองกลาง ได้เคยมีคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 1855/2563 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 ที่เจ้าของรถยนต์ฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นจำเลยที่ 1 และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
เป็นจำเลยที่ 2 กรณีที่ได้ออกประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดแบบใบสั่ง เจ้าพนักงานจราจร พ.ศ. 2563  ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 และประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ.2522 สำหรับรถยนต์ของผู้ฟ้องคดีที่ต้องชำระจำนวน 3,438 บาท คิดเป็นเงินภาษีเดือนละ 286.50 บาท ผู้ฟ้องคดีจึงชอบที่จะได้รับค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 เป็นเงิน 3,151.50 บาท ( 286.50 x 11 ) ทั้งนี้ตามมาตรา 438 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 อยู่ในสังกัดจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทตแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีเป็นเงินจำนวน 3,151.50 บาท ทั้งนี้ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2542
สำหรับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 6 มิได้เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการออกหลักฐานการเสียภาษีรถประจำปีให้แก่ผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดี จึงมิใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ จากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีจึงมิใช่ผู้มีสิทธิฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีรถประจำปี พ.ศ. 2568 ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ทั้งนี้กายในสามวันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีเป็นเงินจำนวน 3,151.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา 7 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ในอัตราร้องละ 5 ต่อปี ตามคำขอของผู้ฟ้องคดี ทั้งนี้ภายใน 30  วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ยกฟ้องผู้ถูกฟ้องดีที่ 2 ผู้ถูกคดีที่ 3  ผู้ถูกฟ้องที่ 4 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 6 คืนค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนตามส่วนของการชนะคดีให้แก่ผู้ฟ้องคดี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
นายวสรรค์ ทองโคกสี
ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง/ตุลาการเจ้าของสำนวน
นายวชิรศักดิ์ นลินธนทรัพย์
ตุลาการศาลปกครองกลาง
นายสรรค์พงศ์ ฐิติกรทับทอง
ตุลาการศาลปกครองกลาง
ตุลาการเจ้าของสำนวน
ตุลาการผู้แถลงคดี : นายนพรัตน์ สร้อยแสวง
ศาลปกครองกลาง
1 8 พฤศจิกายน 2567
ศาลปกครองกลาง

สรุป ประเด็นสำคัญ

  1. คดีนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังไม่ได้นำตัว ผู้กระทำผิดกฎจราจรมาฟ้องร้องต่อศาล  โดยที่ยังมีข้อสงสัยว่า เจ้าของรถไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด เนื่องจากเจ้าของรถอาจไม่ใช่ผู้กระทำผิดกฎจราจรก็เป็นได้ การที่ กรมขนส่งทางบก ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัด กับนายทะเบียนกรมขนส่งทางบก ได้การทำละเว้นที่จะออกป้ายวงกลมให้แก่เจ้าของรถ ทั้งที่ชำระภาษีแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย   โดยหากเจ้าของรถไม่ชำระค่าปรับ เมื่อไปชำระภาษีประจำปีจะได้รับเพียงเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีชั่วคราว 30 วัน เมื่อพ้น 30 วัน ไม่ชำระค่าปรับก็จะเป็นความผิดฐานใช้รถที่ไม่ติดเครื่องหมายที่นายทะเบียนออกให้ ซึ่งหลักการชำระภาษีรถเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวรถ แต่การกระทำผิดกฎจราจรเป็นเรื่องของบุคคล การนำสองเรื่องมาเชื่อมโยงกันจึงไม่ถูกต้อง เป็นการบังคับทางอ้อมให้เจ้าของรถต้องยินยอมชำระค่าปรับ จึงพิพากษาเพิกถอนประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดแบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2563  และประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522
  2. เนื่องจากคดีนี้ยังอยู่ในชั้นศาลปกครองกลาง คดีจึงยังไม่ถึงที่สุด ยังคงต้องรอฟังให้คดีถึงที่สุดก่อน
  3. แต่ถ้า สำนักงานตำรวจแห่ง และศาลยุติธรรม มีการตกลงให้มี คดีจราจร ขึ้น ตำรวจก็จะต้องนำขึ้นฟ้องคดี ก่อน ตำรวจจะไม่สามารถปรับเองได้ ต้องให้ศาลพิพากษาก่อน เมื่อมีคำพิพากษาแล้วถ้า เจ้าของรถถูกศาลพิพากษา แล้วไม่ชำระค่าปรับ กรมขนส่งทางบกก็สามารถ ไม่ออกป้ายวงกลม ให้ได้ แต่ออกเป็น ป้ายชั่วคราว ถือว่าชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนตัวเห็นว่า ควรกำหนดให้มีศาลจราจร ในประเทศไทย เนื่องจาก ประเทศไทย มีการใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์จำนวนมาก อุบัติเหตุ ก็มีมาก ทั้งผู้ใช้รถ และคนเดินถนน ต้องเสียชีวิต จากอุบัติเหตุปีละจำนวนมาก หากมีศาลจราจรเชื่อว่าจะช่วยลดอุบัติเหตุ ลดการสูญเสีย ชีวิต และทรัพย์สิน และลดจำนวนผู้กระทำผิดจากการใช้รถยนต์ ทำให้ผู้ใช้รถ มีวินัยในการใช้รถใช้ถนน มากยิ่งขึ้น 
Scroll to Top