ความรับผิดทางละเมิดของหน่วยงานรัฐ

ความรับผิดทางละเมิดของหน่วยงานรัฐ

เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดอันเกิดจากการกระทำของ
เจ้าหน้าที่ การฟ้องคดีละเมิดอันเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ การเรียกร้องและการชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทน ด้วยการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดำเนินกิจการต่างๆของหน่วยงานของรัฐ อันเป็นกระทำตามหน้าที่ และ
ถูกฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนซึ่งบางกรณีมีวงเงินที่สูงมากเป็นการบั่นทอนการทำงานของเจ้าหน้าที่ ทำให้บาง
กรณีไม่กล้าตัดสินใจ เพราะเกรงว่าอาจถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ทำให้เกิดผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของ
หน่วยงานของรัฐไม่น้อย

การไฟฟ้าปักเสาและพาดสายไฟฟ้าในที่ดินของเอกชนโดยไม่ได้รับอนุญาต

การไฟฟ้านครหลวง เป็นรัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับประชาชน อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย มีพื้นที่บริการในปัจจุบันได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ โดยแบ่งออกเป็น 18 เขต[2] และ 14 สาขาย่อย ในอดีตเคยให้บริการจำหน่ายไฟฟ้าครอบคลุมถึงจังหวัดปทุมธานี ทว่าต่อมาโอนกิจการดังกล่าวให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค[ต้องการอ้างอิง]

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. (Provincial Electricity Authority ตัวย่อ PEA) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่บริการจำหน่ายไฟฟ้าแก่ประชาชนในส่วนภูมิภาคทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย ยกเว้นกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบของการไฟฟ้านครหลวง

การเป็นนิติบุคคล

นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะ ตามประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ถ้าจะถามว่าอะไรเป็นนิติบุคคลบ้าง ต้องไปดูว่ากฎหมายสมมติให้อะไรเป็นนิติบุคคลบ้าง กฎหมายสามารถบัญญัติให้อะไรเป็นนิติบุคคลก็ได้ นิติบุคคลที่กฎหมายบัญญัติไว้มีมากมาย จึงของแยกนิติบุคคลออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน คือ นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีด้วยกัน 5 ประเภท ได้แก่
  • บริษัทจำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
  • สมาคม
  • มูลนิธิ
  1. นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน คือ นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในกฎหมายมหาชนอื่นๆซึ่งมีเป็นจำนวนมาก เช่น วัด จังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์การมหาชน เป็นต้น
    ข้อจำกัดของนิติบุคคล

วัตถุประสงค์ ในการจัดตั้งการไฟฟ้า

 “การไฟฟ้านครหลวง” มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

(1) ผลิตพลังงานไฟฟ้าไปพลางก่อนในระหว่างที่ยังไม่ได้มีการโอนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้ายันฮี พ.ศ. 2500

(2) จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และ

(3) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง หรือที่เป็นประโยชน์แก่การไฟฟ้านครหลวง

ตาม มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติ การไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501

ความรับผิดทางละเมิดของหน่วยงานรัฐ

การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) METROPOLITAN ELECTRICITY AUTHORITY (MEA) รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย ก่อตั้ง 1 สิงหาคม 2501

          การจ่ายกระแสไฟฟ้า สำหรับเมืองไทยส่วนมากก็จะใช้การจ่ายกระแสไฟผ่านระบบสายไฟฟ้า โดยจะมีการปักเสาและพาดสายไฟฟ้าไปยังบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟ ซึ่งโดยปกติแล้วเสาไฟฟ้าก็จะปักไปตามริมทางสาธารณะ แต่ในกรณีที่ไม่มีทางสาธารณะ ก็อาจจะมีบางครั้งที่จะต้องปักเสาและพาดสายผ่านที่ดินของเอกชน ซึ่งกรณีนี้จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้น

          ถ้าหากการปักเสาพาดสายไฟฟ้าในที่ดินเอกชนนั้นโดยไม่ได้รับความยินยอม การไฟฟ้าก็อาจถูกเจ้าของที่ดินฟ้องเนื่องจากการกระทำละเมิดต่อเจ้าของที่ดิน

 

การคุ้มครองสิทธิของพลเมือง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

  • บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ สามารถยกบทบัญญัติ
    แห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
  • บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพหรือจากการกระทำความผิดอาญา
    ของบุคคลอื่น ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ

เมื่อเอกชนถูกหน่วยงานละเมิดจะใช้สิทธิทางศาลอย่างไร?

ตัวอย่างการฟ้องคดีของเอกชน

นาย ก. จึงมีหนังสือแจ้งให้การไฟฟ้านครหลวงเคลื่อนย้ายเสาไฟฟ้าและอุปกรณ์เหล่านั้นออกไปจากที่ดิน แต่การไฟฟ้านครหลวงกลับมีหนังสือแจ้งให้ นาย ก. ต้องเป็นผู้รับผิดชอบเสียค่าใช้จ่ายในการย้ายเสาและสายไฟฟ้าออกไปเอง เป็นเงินจำนวน 173,100 บาท

นาย ก. จึงนำคดีไปฟ้องต่อศาลแพ่งธนบุรีเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ซึ่งการไฟฟ้านครหลวงก็ได้ต่อสู้ในเรื่องเขตอำนาจศาลวาคดีพิพาทนี้อยูในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง

          ศาลแพ่งธนบุรีกับศาลปกครองกลางมีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า คดีอยู่ในอำนาจศาลปกครอง ศาลแพงธนบุรีจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

          ต่อมา ก. จึงยื่นฟ้องการไฟฟ้านครหลวงต่อศาลปกครองกลาง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้การไฟฟ้านครหลวงรื้อถอนเสาและสายไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์ทั้งหมดออกไปจากที่ดิน พร้อมทั้งชำระค่าเสียหายให้แก่ตนด้วย

          ต่อมาคดีขึ้นสู่ศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ นาย ก. ฟ้องว่าการไฟฟ้านครหลวงปักเสาพาดสายไฟฟ้าในที่ดินของตนเพื่อส่งผ่านไปยังที่ดินแปลงอื่น ทำให้นาย ก. ได้รับความเสียหาย พร้อมทั้งขอให้การไฟฟ้านครหลวงย้ายเสาไฟฟ้าดังกล่าวออกไปและจ่ายค่าเสียหายให้แก่ตน อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ

          เมื่อ นาย ก. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่การไฟฟ้านครหลวงไปดำเนินการปักเสาพาดสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์อื่นผ่านไปสู่ที่ดินแปลงอื่น นาย ก. จึงเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทำของการไฟฟ้านครหลวง และคำขอของ นาย ก. ที่ขอให้การไฟฟ้านครหลวงย้ายเสาไฟฟ้าออกไปพร้อมจ่ายค่าเสียหายเป็นคำขอที่ศาลปกครองสามารถกำหนดคำบังคับได้ นาย ก. จึงเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครอง ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

          ในส่วนเรื่องของระยะเวลาการฟ้องคดี ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า การที่การไฟฟ้านครหลวงปักเสา พาดสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์อื่นลงในที่ดินของ นาย ก. โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการกระทำละเมิดต่อ นาย ก. และตราบใดที่ยังไม่มีการรื้อถอนเสาและสายไฟฟ้าตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกจากที่ดิน ย่อมถือว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อเนื่องตลอดเวลาจนถึงวันฟ้องคดี นาย ก. จึงยื่นฟ้องคดีนี้ได้ตลอดตราบเท่าที่ยังคงมีการกระทำละเมิด และถือเป็นการฟ้องคดีภายในระยะเวลาการฟ้องคดี ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ

          ดังนั้น ศาลปกครองจึงมีอำนาจรับคำฟ้องของ นาย ก. ที่ขอให้ การไฟฟ้านครหลวงรื้อถอนเสา

และสายไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์ทั้งหมดออกไปจากที่ดิน พร้อมทั้งชำระค่าเสียหายให้แก่ตนไว้พิจารณาได้

          (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 419/2560)

          ทั้งนี้ การฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ยื่นฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้ องคดี ทั้งนี้ ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

Scroll to Top