ประสบการณ์ประกอบวิชาชีพทนายความ มากว่า 20 ปี

ทนายธรรมสรณ์ อัศวธีรวงศ์ หัวหน้าสำนักงานธรรมณุกูลทนายความ

รับว่าความคดีอาญา

– คดียาเสพติด – คดียักยอกทรัพย์  – คดีฉ้อโกงทรัพย์ ,ฉ้อโกงประชาชน – คดีลักทรัพย์ ,ลักทรัพย์นายจ้าง – คดีทำให้เสียทรัพย์ – คดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา คดีพยายามฆ่า  – คดีทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้เกิดอันตราย ,สาหัส ,ตาย – คดีประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ,สาหัส ,ตาย – คดีบุกรุก – คดีพรากผู้เยาว์ – คดีเกี่ยวกับอาวุธปืน

โดยสำนักงานมีระบบติดตามสำนวนคดีได้ 24 ชั่วโมง

การดำเนินคดีอาญา ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับอาชญากรรม โดยห้ามความประพฤติที่รัฐมองว่าคุกคาม หรือเป็นภัยต่อทรัพย์สิน สุขภาพ ความปลอดภัยและศีลธรรมของประชาชน กฎหมายอาญาของไทย กฎหมายอาญามีบทลงโทษและการทำให้กลับคืนดีซึ่งประชาชนผู้ฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว รัฐบาลในสมัยจอมพล ป พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่า กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ ได้ประกาศใช้มานานแล้วและได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอยู่หลายแห่งกระจัดกระจายกันอยู่ จึงเป็นการสมควรที่จะได้ชำระสะสางและนำเข้ารูปเป็นประมวลกฎหมายอาญาเสียในฉบับเดียวกันอนึ่ง ปรากฏว่าหลักการบางอย่างและวิธีการลงโทษบางอย่างควรจะได้ปรับปรุงให้สมกับกาลสมัยและแนวนิยมของนานาประเทศ ในสมัยปัจจุบันหลักเดิมบางประการจึงล้าสมัย สมควรจะได้ปรับปรุงเสียให้สอดคล้องกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

วัตถุประสงค์

กฎหมายอาญามีความพิเศษจากผลลัพธ์ที่อาจรุนแรงหรือบทลงโทษที่ละเว้นการปฏิบัติตามหลักกฎหมายอาญา อาชญากรรมทุกประเภทมีองค์ประกอบแห่งความผิดอาญา โทษทางอาญามีทั้งโทษประหารชีวิต ซึ่งบางเขตอำนาจศาลใช้บังคับสำหรับอาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุด, การลงโทษทางกาย เช่น การเฆี่ยน แม้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกห้ามการลงโทษลักษณะนี้แล้ว, การกักขังในเรือนจำหรือคุกในสภาพต่าง ๆ ซึ่งอาจมีการแยกขังเดี่ยว ส่วนระยะเวลานั้นอาจมีตั้งแต่ 1 วันไปจนถึงตลอดชีวิต, การคุมความประพฤติ เช่น การกักให้อยู่แต่ในบ้าน (house arrest) และผู้ต้องโทษอาจถูกบังคับให้ปฏิบัติตามแนวทางอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเป็นส่วนหนึ่งของการปล่อยตัวโดยมีการคุมประพฤติหรือการคุมประพฤติ, ปรับ, และริบทรัพย์เป็นเงินหรือทรัพย์สิน

มีการยอมรับวัตถุประสงค์ 5 ประการสำหรับการบังคับใช้กฎหมายอาญาโดยการลงโทษ ได้แก่ การตอบแทน การป้องปราม การหมดความสามารถ การทำให้กลับคืนดีและการคืนสภาพ เขตอำนาจศาลต่าง ๆ ให้น้ำหนักแก่คุณค่าต่างกันไป

  • การตอบแทน (retribution): มองว่าอาชญากรสมควรถูกลงโทษในทางใดทางหนึ่ง เป็นเป้าหมายที่มองกันแพร่หลายมากที่สุด อาชญากรใช้ข้อได้เปรียบอย่างไม่เหมาะสม หรือก่อความเสียหายอย่างอยุติธรรมต่อผู้อื่น ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงต้องทำให้อาชญากรได้รับผลเสียอันไม่น่าพึงประสงค์เพื่อให้ “สมดุลกัน” ในทำนองเดียวกัน ประชาชนยอมรับต่อกฎหมายเพื่อให้ได้รับสิทธิในการไม่ถูกฆ่า และหากมีประชาชนฝ่าฝืนกฎหมายข้อนี้ ถือว่าพวกเขายอมสละสิทธิที่กฎหมายมอบให้ ดังนั้นบุคคลที่ฆ่าผู้อื่นจึงอาจถูกประหารชีวิตด้วย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมี “การรักษาสมดุล”
  • การป้องปราม (deterrence): การป้องปรามปัจเจกมุ่งต่อผู้กระทำความผิดคนใดคนหนึ่ง เป้าหมายคือการกำหนดบทลงโทษให้หนักเพียงพอเพื่อให้ประชาชนไม่คิดกระทำความผิด การป้องปรามทั่วไปมุ่งต่อสังคมทั้งหมด
  • การหมดความสามารถ (incapacitation): ออกแบบมาเพื่อกันอาชญากรจากสังคมเพื่อให้ปลอดภัยจากการกระทำความผิด โทษอาจมีทั้งจำคุก ประหารชีวิตหรือเนรเทศ
  • การทำให้กลับคืนดี (rehabilitation): มุ่งแปลงสภาพผู้กระทำความผิดให้กลับเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณค่า เป้าหมายหลักคือป้องกันการกระทำความผิดซ้ำโดยการจูงใจผู้กระทำความผิดว่าการกระทำของเขาผิด
  • การคืนสภาพ (restoration): ตามทฤษฎีการลงโทษที่เน้นผู้เสียหาย เป้าหมายคือการใช้อำนาจรัฐแก้ไขความเสียหายใด ๆ ที่ผู้กระทำความผิดกระทำต่อผู้เสียหาย

ประเภทของความผิด 

ความผิดทางอาญามี 2 ประเภทคือ

  1. ความผิดในตัวเอง (ละติน: mala in se) คือความผิดที่คนทั่วไปเห็นชัดเจนว่าเป็นความผิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
  2. ความผิดเพราะกฎหมายห้าม (ละติน: mala prohibita) คือความผิดที่เกิดจากการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด โดยอาจมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมเลย ซึ่งหากกล่าวถึงทฤษฎีกฎหมายสามยุค ความผิดเพราะกฎหมายห้ามอยู่ในยุคกฎหมายเทคนิค

ลักษณะของการทำความผิดทางอาญา 

กฎหมายอาญากระทำความผิดไว้ 3 ประเภทคือ

  1. ความผิดโดยการกระทำ
  2. ความผิดโดยการงดเว้นการกระทำ
  3. ความผิดโดยการละเว้นการกระทำ

สภาพบังคับของกฎหมายอาญา 

โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฎีซึ่งเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฎีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึงทำหน้าที่ห้ามไม่ให้คนกระทำความผิด และในกรณีกระทำความผิดไปแล้ว โทษมีความจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวกลับใจแก้ไขการกระทำผิดที่เคยเกิดขึ้นและสามารถกลับเข้าสู่สังคมอย่างเดิม

กฎหมายอาญาบางส่วน 

องค์ประกอบแห่งความผิดอาญา 

กฎหมายอาญาโดยทั่วไปห้ามการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นการพิสูจน์ความผิดอาญาจึงอาศัยการพิสูจน์การกระทำบางอย่าง นักวิชาการระบุว่าเป็นข้อกำหนดการกระทำอันจะเป็นความผิดอาญา (actus reus) ความผิดอาญาบางอย่าง โดยเฉพาะความผิดในข้อบังคับสมัยใหม่ไม่ต้องมีการพิสูจน์การกระทำ เรียก ความผิดความรับผิดโดยสิ้นเชิง (strict liability) เช่น การขับขี่ยานพานหะโดยมีแอลกอฮอลในเลือดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ดี เนื่องจากโทษอาญาอาจรุนแรง ผู้พิพากษาในระบบคอมมอนลอว์จึงมองหาการพิสูจน์เจตนาร้าย (mens rea) ด้วย สำหรับความผิดอาญาที่กำหนดทั้งการกระทำอันจะเป็นความผิดอาญาและเจตนาร้ายนั้น ผู้พิพากษาสรุปว่าองค์ประกอบทั้งสองจะต้องเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ไม่ใช่เกิดขึ้นติดต่อกันตามวาระกัน

ขั้นตอนการดำเนินคดี
กระบวนพิจารณาคดีในศาล จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก จึงต้องมีการกำหนดวิธีปฏิบัติตามวันนัดพิจารณาคดีแต่ละนัดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม

ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา

1. ยื่นคำฟ้อง

โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการจะต้องตรวจดูว่ามีพยานหลักฐานสนับสนุนว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่ และการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อกฎหมายหรือไม่

2. นัดไต่สวนมูลฟ้อง เฉพาะในคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ได้มีการสอบสวนมาแล้ว ปกติจะไม่มีการไต่สวนมูลฟ้อง พนักงานอัยการเพียงแต่นำตัวจำเลยมาศาลเพื่อยื่นฟ้อง

ส่วนคดีอาญาที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์เองก็ต้องเริ่มด้วยการไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ต้องนำพยานมาสืบให้ศาลเห็นว่าคดีของตนมีมูลที่ศาลจะรับฟ้องไว้พิจารณา โดยจำเลยจะมาฟังการไต่สวนมูลฟ้องหรือไม่ก็ได้ ถ้าศาลเห็นว่าคดีมีมูลจะสั่งรับฟ้อง และศาลจะออกหมายเรียกให้จำเลยมาสู้คดี

3. นัดสอบคำให้การจำเลย

เมื่อจำเลยมาศาลแล้วศาลจะอ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่าจะให้การอย่างไร ถ้าจำเลยปฏิเสธก็จะมีการนัดสืบพยานต่อไป

4. นัดตรวจพยานหลักฐาน

กรณีมีพยานหลักฐานมาก ศาลอาจเห็นว่าหรือคู่ความร้องขอ

5. นัดสืบพยาน

โจทก์มีหน้าที่นำพยานหลักฐานเข้าสืบก่อน ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด และจำเลยนำพยานหลักฐานสืบแก้ เมื่อสืบพยานเสร็จ ศาลจะนัดฟังคำพิพากษาต่อไป

6. นัดฟังคำพิพากษา

ในการตัดสินคดีศาลจะวินิจฉัยพยานหลักฐานทั้งปวงในคดี พยานหลักฐานของโจทก์ว่าสามารถฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดจริง โดยปราศจากข้อสงสัยอันสมควร ยกฟ้อง อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง

กรณีที่ท่านเป็นโจทก์หรือโจทก์ร่วม

คดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น ลักทรัพย์,ปล้นทรัพย์,ชิงทรัพย์,ฉ้อโกง,ยักยอกทรัพย์ เป็นต้น
คดีความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย เช่น ฆ่าคนตาย,ทำร้ายร่างกาย เป็นต้น
คดีความผิดเกี่ยวกับเอกสาร,ชื่อเสียง,คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ,ภาษีอากร และอื่นๆ
***คิดค่าว่าความขั้นต่ำ ตั้งแต่ 40,000 บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน) ขึ้นไป
กรณีที่ท่านเป็นจำเลย

คดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น ลักทรัพย์,ปล้นทรัพย์,ชิงทรัพย์,ฉ้อโกง,ยักยอก เป็นต้น
คดีความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย เช่น ฆ่าคนตาย,พยายามฆ่า,ทำร้ายร่างกาย เป็นต้น
คดีความผิดเกี่ยวกับเอกสาร,ชื่อเสียง,คดีทรัพย์สินทางปัญญา และอื่นๆ
คดีเกี่ยวกับภาษีอากร
คดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
***คิดค่าว่าความขั้นต่ำ ตั้งแต่ 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) ขึ้นไป
หมายเหตุ
1. หากมีค่าฤชาธรรมเนียมศาล หรือมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ท่านต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง (ตามใบเสร็จรับเงิน)
2. กรณีทนายความเดินทางไปศาลต่างจังหวัด สำนักงานฯ จะเรียกเก็บค่าเดินทางตามอัตราของสำนักงานฯ
3. คดีนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว จะตกลงกันตามความยากง่ายของการดำเนินคดี

ค่าบริการในการทำคดีในศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
1. หากคดีมีการอุทธรณ์ คิดค่าบริการ ดังต่อไปนี้
1.1 ค่าทำคำฟ้องอุทธรณ์ ขั้นต่ำคดีละ 20,000 บาท (สองหมื่นบาท)
1.2 ค่าทำคำแก้อุทธรณ์ ขั้นต่ำคดีละ 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาท)

2. หากคดีมีการฎีกา บริษัทฯ คิดค่าบริการ ดังต่อไปนี้
2.1 ค่าทำคำฟ้องฎีกา ขั้นต่ำคดีละ 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาท)
2.2 ค่าทำคำแก้ฎีกา ขั้นต่ำคดีละ 20,000 บาท (สองหมื่นบาท)

หรือ ในราคาตกลงกัน แล้วแต่กรณี
หมายเหตุ หากท่านประสงค์จะให้ทนายความเดินทางไปพบ ณ ที่ทำการของท่าน หรือที่อื่นใดตามที่ท่านกำหนด

สำนักงานฯ คิดค่าเดินทาง จำนวน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ส่วนต่างจังหวัด

คิดค่าเดินทางตามอัตราที่สำนักงานฯ กำหนด

เว้นแต่ ในกรณีที่ตกลงกันแล้วแต่กรณี

ต่างจังหวัด ท่านต้องชำระค่าเดินทาง ตามอัตราดังต่อไปนี้

ระยะทาง ไม่เกิน 300 กม. คิดค่าเดินทาง = 2,500 บาท
ระยะทาง 300 – 500 กม. คิดค่าเดินทาง = 3,000 บาท
ระยะทาง 500 กม. ขึ้นไป คิดค่าเดินทาง = 4,000 บาท
หมายเหตุ

ค่าเดินทางดังกล่าวไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าที่พัก, ค่าตั๋วรถเดินทาง, ค่าน้ำมันรถยนต์, ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่ทางราชการหรือเอกชนออกให้ (ตามใบเสร็จรับเงิน)

หรือ ในราคาตกลงกัน แล้วแต่กรณี

Scroll to Top