ประสบการณ์ประกอบวิชาชีพทนายความ มากว่า 20 ปี

ทนายธรรมสรณ์ อัศวธีรวงศ์ หัวหน้าสำนักงานธรรมณุกูลทนายความ

รับว่าความคดีแพ่ง

 
รับว่าความและต่อสู้คดี ดำเนินคดีแพ่งทั่วไป เจรจาไกล่เกลี่ย/ประนอมหนี้ คดีไม่มีข้อพิพาท เช่น ร้องขอรื้อบริษัทร้าง รวมถึงบริการชั้นบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล เช่น ตั้งเรื่องบังคับคดี สืบทรัพย์ ตรวจกรรมสิทธิ์ที่ดิน/ห้องชุด ตรวจกรรมสิทธิ์รถยนต์ ยึดหรืออายัดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาด– คดีผิดสัญญาซื้อขาย – คดีผิดสัญญาจ้างทำของ – คดีผิดสัญญากู้ยืมเงิน – คดีละเมิด เรียกค่าเสียหาย – คดีแชร์ – คดีที่ดิน

โดยสำนักงานมีระบบติดตามสำนวนคดีได้ 24 ชั่วโมง

กฎหมายแพ่ง มีลักษณะเป็นกฎหมายเอกชน ที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน เป็นเรื่องที่รัฐไม่เข้ามายุ่งเกี่ยว เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จึงปล่อยให้ประชาชนมีอิสระในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันเองภายในกรอบของกฎหมาย หลักทั่วไปที่ควรทราบเป็นพื้นฐาน

1. นิติกรรม
2.บุคคล
            2.1 บุคคลธรรมดา
            2.2 นิติบุคคล
     1. นิติกรรม หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ชอบด้วยกฎหมายและโดยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ นิติกรรมจะมีผลสมบูรณ์ต้องกระทำให้ถูกหลักเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนดไว้ คือ วัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัย ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หากกระทำการฝ่าฝืนวัตถุที่ประสงค์ดังกล่าว นิติกรรมนั้น เป็นโมฆะคือเสียเปล่าไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย
ความสมบูรณ์ของนิติกรรม
กฎหมายได้บัญญัติถึงเรื่องความสมบูรณ์ของนิติกรรมที่ทำขึ้นเป็น 3 กรณีคือ
        1) กรณีที่นิติกรรมกระทำขึ้นถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดทุกประการ ย่อมสมบูรณ์มีผลใช้บังคับ
        2) กรณีนิติกรรมที่กระทำขึ้นมีข้อที่อาจเสื่อมเสียบางประการกฎหมายจึงเข้าคุ้มครองปกป้องสิทธิของฝ่ายที่เสียเปรียบโดยกำหนดให้นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ตลอดไปหรือสิ้นผลไป สุดแท้แต่ฝ่ายที่เสียเปรียบนั้นจะเลือก  เรียกว่านิติกรรมที่เป็นโมฆียะ
       3) กรณีนิติกรรมที่กระทำขึ้นไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติในเรื่องที่เป็นสาระสำคัญ จึงตกเป็นโมฆะ แยกเหตุแห่งโมฆะกรรมอันเกิดจากวัตถุประสงค์ของนิติกรรม ได้อีกเป็น 3 กรณี คือ
            3.1) นิติกรรมมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เช่น ทำสัญญาซื้อขายเฮโรอีน วัตถุประสงค์ของสัญญาซื้อขายจึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เพราะขัดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
            3.2) นิติกรรมมีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย คือ ทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เช่น ไก่ทำสัญญาจ้างไข่ไปเก็บดวงดาวบนท้องฟ้า สัญญานี้ย่อมตกเป็นโมฆะ
    2. บุคคล  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ บุคคลธรรมดา (Natural Persons) และ นิติบุคคล (Juristic Persons)
               2.1 บุคคลธรรมดา (Natural Persons)  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15 บัญญัติหลักเกณฑ์การเริ่มสภาพบุคคลว่า “สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก. .” จากบทบัญญัตินี้จึงถือว่าการเริ่มสภาพบุคคลประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ คือ
                    1) มีการคลอด คือ การที่ทารกได้พ้นออกมาจากช่องคลอด โดยไม่มีอวัยวะส่วนใดเหลือติดอยู่ ส่วนจะมีการตัดสายสะดือหรือไม่ไม่เป็นข้อสำคัญ
ความสามารถของบุคคล (Capacity)
                          ความสามารถของบุคคล หมายถึง ความสามารถในการมีสิทธิหรือใช้สิทธิตามกฎหมาย ซึ่งโดยปกติบุคคลทุกคนย่อมมีความสามารถในการใช้สิทธิได้ทัดเทียมกัน แต่มีบางกรณีเพื่อคุ้มครองบุคคลบางประเภท กฎหมายจึงได้จำกัดหรือตัดทอนความสามารถของบุคคลประเภทนั้น ๆ เสีย ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้แก่ ผู้หย่อนความสามารถซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ
                     ก. ผู้เยาว์
                     ผู้เยาว์ หมายถึง บุคคลผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะการบรรลุนิติภาวะหรือการพ้นจากภาวะผู้เยาว์มีได้ 2 กรณี คือ (1) อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ (2) อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ แต่ได้ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย คือ สมรสเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว หรือเมื่อศาลอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ความสามารถในการใช้สิทธิของผู้เยาว์ แยกได้ 2 กรณี คือกรณีที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม และกรณีที่ผู้เยาว์สามารถใช้สิทธิกระทำได้เอง
 
                  (1) กรณีที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 21 บัญญัติว่า “ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”การใด ๆ ในที่นี้ หมายความถึงเฉพาะการทำ “นิติกรรม” เท่านั้น ถ้าเป็นการกระทำอย่างอื่นที่มิใช่นิติกรรม เช่น ผู้เยาว์กระทำละเมิดต่อผู้อื่น ผู้เยาว์จะต้องรับผิดชอบในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น จะอ้างว่าการกระทำนั้นมิได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ได้ผู้แทนโดยชอบธรรม” หมายถึง ผู้ที่มีอำนาจทำนิติกรรมต่าง ๆ แทนผู้เยาว์ หรือให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม ผู้แทนโดยชอบธรรมได้แก่

                – ผู้ใช้อำนาจปกครอง คือ บิดาและมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจ ปกครองร่วมกันในกรณีที่ผู้เยาว์นั้นมีทั้งบิดาและมารดา หรืออาจจะเป็นบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ ในกรณีที่บิดาหรือมารดาตาย ไม่แน่นอนว่าบิดาหรือมารดามีชีวิตอยู่ บิดาหรือมารดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ บิดาหรือมารดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา

                – ผู้ปกครอง ผู้ปกครองของผู้เยาว์จะมีได้ก็แต่เฉพาะในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ผู้เยาว์ไม่มีบิดา หรือมีบิดามารดาแต่ได้ถูกถอนอำนาจปกครองแล้ว
                (2) กรณีที่ผู้เยาว์สามารถใช้สิทธิกระทำได้เอง
                นิติกรรมที่กฎหมายอนุญาตให้ผู้เยาว์กระทำได้โดยลำพังตนเองไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมอันเป็นข้อยกเว้นหลักทั่วไป คือ
                                1) นิติกรรมที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไป ซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือทำให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง นิติกรรมที่ทำให้ได้ไปซึ่งสิทธิ เช่น การรับการให้โดยเสน่หา โดยไม่มีภาระผูกพัน นิติกรรมที่ทำให้หลุดพ้นจากหน้าที่ เช่น การที่เจ้าหนี้ทำนิติกรรมปลดหนี้ให้
                                2) นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น รับรองบุตร
                                3) นิติกรรมที่จำเป็นเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้เยาว์ ซึ่งเป็นการสมควรแก่ฐานานุรูป เช่น การซื้ออาหารกิน ซื้อสมุดดินสอ ขึ้นรถประจำทาง ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ของผู้เยาว์เป็นราย ๆ ไป
                                4) การทำพินัยกรรม ผู้เยาว์ทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุ 15 ปี บริบูรณ์ ถ้าผู้เยาว์ทำพินัยกรรมในขณะที่อายุยังไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ แม้ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม พินัยกรรมนั้นก็ยังคงเป็นโมฆะ
                              5) การจำนำตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป สามารถจำนำสิ่งของในโรงรับจำนำได้ แต่การจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 748 ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

 

ข. คนไร้ความสามารถ
                 คือ บุคคลวิกลจริตที่คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดานของผู้นั้น หรือพนักงานอัยการ ร้องขอต่อศาล และศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถการสิ้นสุดแห่งการเป็นคนไร้ความสามารถ จะมีได้ในกรณีที่คนไร้ความสามารถถึงแก่ความตาย หรือเมื่อศาลได้สั่งเพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถบุคคลที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาลของผู้อนุบาล ผู้อนุบาลของคนไร้ความสามารถ ได้แก่ บิดามารดา ในกรณีที่คนไร้ความสามารถยังมิได้ทำการสมรส หรืออาจจะเป็นภริยาหรือสามี ในกรณีที่คนไร้ความสามารถทำการสมรสแล้วนิติกรรมที่คนไร้ความสามารถได้ทำลงตกเป็นโมฆียะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาลหรือไม่ก็ตาม จะต้องให้ผู้อนุบาลเป็นผู้ทำแทนข้อสังเกต คนวิกลจริตที่ศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถย่อมถือว่าอยู่ในฐานะเป็นผู้มีความสามารถเหมือนบุคคลธรรมดาทั่วไป จึงสามารถทำนิติกรรม ใด ๆ ได้สมบูรณ์เว้นแต่ อาจจะเป็นโมฆียะได้ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่านิติกรรมนั้นได้ทำขึ้นในขณะที่ผู้นั้นวิกลจริตอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่ว่าผู้นั้นเป็นคนวิกลจริต
                 ค. คนเสมือนไร้ความสามารถ
                คือ บุคคลที่ไม่สามารถจัดทำการงานของตนเองได้เพราะมีกายพิการ จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ ติดสุรายาเมา และคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลแล้วศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถการสิ้นสุดแห่งการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ จะมีได้ในกรณีที่บุคคลนั้นถึงแก่ความตาย ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเมื่อศาลได้สั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถนั้นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถจะตกอยู่ในความพิทักษ์ของบุคคลที่เรียกว่าผู้พิทักษ์ และจะถูกจำกัดความสามารถบางชนิด กล่าวคือ โดยหลักทั่วไปคนเสมือนไร้ความสามารถย่อมสามารถที่จะทำนิติกรรมใด ๆ ได้และมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่ นิติกรรมที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 34 เช่น การนำทรัพย์สินไปลงทุน การทำสัญญากู้ยืมหรือรับประกัน การประนีประนอมยอมความ การเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน หรืออสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 3 ปี เป็นต้น จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน มิฉะนั้นเป็นโมฆียะ
   การสิ้นสภาพบุคคล
               ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15 บัญญัติถึงเรื่องการสิ้นสภาพบุคคลไว้ว่า “สภาพบุคคลย่อมสิ้นสุดลงเมื่อตาย” การตายนี้แยกออกเป็น 2 กรณี คือ
                1) ตายธรรมดา เป็นการตายตามธรรมชาติ สภาพบุคคลย่อมสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ตายโดยปกติเมื่อบุคคลใดตายก็ย่อมสามารถทราบได้ว่าบุคคลนั้นตายเมื่อใด แต่บางกรณีอาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ ถ้ามีบุคคลหลายคนถึงแก่ความตายพร้อมกันในเหตุภยันตรายร่วมกัน และไม่ทราบว่าใครตายก่อนตายหลังกันแน่ ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นก็คือต้องทราบว่าใครตายก่อนหลัง เพราะจะต้องเกี่ยวพันถึงมรดก ด้วยเหตุนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 17 จึงบัญญัติว่า “ในกรณีบุคคลหลายคนตายในเหตุภยันตรายร่วมกัน ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะกำหนดได้ว่าคนไหนตายก่อนหลัง ให้ถือว่าตายพร้อมกัน”
                2) สาบสูญ เป็นการตายตามกฎหมาย กล่าวคือบุคคลใดเมื่อถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญแล้วกฎหมายถือว่าบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตาย การจะถือว่าบุคคลใดเป็นคนสาบสูญต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ดังนี้ คือ
                    2.1) บุคคลนั้นได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่ทราบข่าวว่าเป็นตายร้ายดีประการใด เป็นระยะเวลา 5 ปี ในกรณีธรรมดา โดยนับตั้งแต่วันที่ออกไปจากบ้านหรือวันที่ส่งข่าวให้ทราบเป็นครั้งสุดท้าย  2 ปี ในกรณีพิเศษ ได้แก่ กรณีที่บุคคลได้ไปถึงที่สมรภูมิแห่งสงคราม หรือไปตกอยู่ในเรือเมื่ออับปาง หรือไปตกอยู่ในฐานะที่จะเป็นอันตรายแก่ชีวิต ประการอื่น การนับระยะเวลา 2 ปี นี้จะนับตั้งแต่สงครามสงบ หรือเมื่อเรืออับปาง หรือนับแต่ภยันตรายอย่างอื่นนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว แล้วแต่กรณี
                    2.2) มีคำสั่งของศาลแสดงการสาบสูญ ซึ่งศาลจะสั่งได้ก็ต่อเมื่อผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ บิดา มารดา บุตร ภริยา สามี หรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี ร้องขอต่อศาล และเมื่อศาลได้สั่งให้บุคคลใดสาบสูญแล้วให้โฆษณาคำสั่งนั้นในราชกิจจานุเบกษาเมื่อศาลได้สั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญแล้วจะมีผลดังนี้ คือ
                         (1) ถือว่าบุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ (ถึงแก่ความตาย) นับตั้งแต่เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี หรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี (มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ศาลสั่ง)
                         (2) เมื่อเป็นคนสาบสูญแล้ว ทรัพย์สมบัติทั้งหลายของคนสาบสูญจะตกเป็นมรดกแก่ทายาท ยกเว้นเรื่องการสมรส การสาบสูญไม่ทำให้การสมรสขาดจากกันเป็นเพียงเหตุฟ้องหย่าเท่านั้นคนสาบสูญจะพ้นสภาพจากการเป็นคนสาบสูญได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้คือ
                                1) ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบุคคลสาบสูญนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือตายในเวลาอื่นผิดจากระยะเวลาที่มีการร้องขอให้ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ
                                2) เมื่อบุคคลผู้นั้นเอง ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอและ
                                3) ศาลมีคำสั่งถอนคำสั่งให้เป็นสาบสูญ และคำสั่งนี้ต้องโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาเช่นเดียวกับคำสั่งแสดงการสาบสูญการเพิกถอนคำสั่งแสดงการสาบสูญ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์แห่งการทั้งหลายที่ได้กระทำโดยสุจริต ในระหว่างเวลาตั้งแต่ศาลมีคำสั่งแสดงการสาบสูญจนถึงเวลาเพิกถอนคำสั่งนั้น อนึ่ง บุคคลที่ได้รับทรัพย์สินมาเนื่องแต่การที่ศาลสั่งแสดงการสาบสูญ แต่ต้องเสียสิทธิของตนไป เพราะศาลสั่งถอนคำสั่งแสดงการสาบสูญนั้น จำต้องส่งคืนทรัพย์สินแต่เพียงเท่าที่ยังได้เป็นลาภอยู่แก่ตน
   2.2  นิติบุคคล (Juristic Persons)
                 คือ บุคคลตามกฎหมายที่กฎหมายสมมติขึ้น และรับรองให้มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่ สิทธิและหน้าที่บางอย่างซึ่งบุคคลธรรมดามีอยู่นั้น นิติบุคคลจะมีไม่ได้ เช่น สิทธิในด้านครอบครัว สิทธิในทางการเมือง เป็นต้น
                 ประเภทของนิติบุคคล
การเป็นนิติบุคคล แบ่งตามอำนาจของกฎหมายที่ก่อตั้งขึ้นได้เป็น 2 ประเภท คือ นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ๆ
                1) นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่
                                1.1) ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด
                                1.2) บริษัทจำกัด คือ บริษัทที่ตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้น ๗ คนขึ้นไป และผู้ถือหุ้นทุกคนต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ และบริษัทจำกัดนี้กฎหมายบังคับให้จดทะเบียนซึ่งเมื่อจดทะเบียนแล้วก็จะมีสภาพเป็นนิติบุคคล
                                1.3) สมาคม คือ การที่บุคคลหลายคนตกลงเข้ากันเพื่อทำการอันใดอันหนึ่งอันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกัน และมิใช่เป็นการหากำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน จึงต่างกับบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนซึ่งมุ่งหากำไร สมาคมที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล
                                1.4) มูลนิธิ คือ ทรัพย์สินอันจัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะวิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาหรือเพื่อ สาธารณประโยชน์อย่างอื่นโดยมิได้มุ่งหมายหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกันและต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย มูลนิธีที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล
                2) นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ๆ

 1. ความผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเอง

      2.  ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น

      3. ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากทรัพย์

ความผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเอง

                ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น  คำว่า ผู้ใด หมายถึง บุคคลทุกชนิด ไม่ว่าบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วหรือผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต ประการต่อมาต้องพิจารณาว่า บุคคลนั้นต้องมีการกระทำด้วย ซึ่งการกระทำนั้นนอกจากจะหมายถึงการเคลื่อนไหวในอิริยาบถโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหว แล้ว ยังหมายความรวมถึง การงดเว้นไม่กระทำ (omission) แต่ต้องภายใต้เงื่อนไขว่า การงดเว้นหรือละเว้นไม่กระทำการที่มีหน้าที่ต้องทำหน้าที่นี้ อาจเกิดจากกฎหมายหรือเกิดจากสัญญาหรือความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหายหรือเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจริงซึ่งผู้งดเว้นได้ก่อขึ้น

สิ่งต้องทำความเข้าใจ

      1. หน้าที่ตามกฎหมาย หมายความว่า มีกฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยวกับหน้าที่ที่ต้องทำ เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน จะเห็นได้ว่า หากไม่อุปการะเลี้ยงดูจนผู้มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นละเมิด เกิดจากการงดเว้นการะทำของผู้มีหน้าที่ อย่างไรก็ดี การงดเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายมิได้บัญญัติให้กระทำหรือตนไม่มีหน้าที่ก็ไม่ถือเป็นละเมิด

ฎ. 857/2512 การที่จำเลยไม่จัดคนเฝ้าบ้านของบุคคลที่ยกให้จำเลยหรือไม่รื้อถอนอาการดังกล่าว ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้จำเลยมีหน้าที่ต้องทำ การที่คนร้ายเข้าไปในบริเวณบ้านดังกล่าวแล้ววางเพลิงเผาบ้านและทรัพย์สินของโจทก์ จะถือว่าจำเลยประมาทเลินเล่อไม่ได้

      2. หน้าที่ตามสัญญา ตัวอย่างเช่น  มีสัญญาจ้างแพทย์รักษาโรค แต่แพทย์ไม่ปฏิบัติตามสัญญา เป็นผลให้เกิดความเสียหาย ถือเป็นการงดเว้น จึงเป็นทั้งผิดสัญญาและละเมิด

      3. หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหาย หรือเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจริงซึ่งผู้งดเว้นได้ก่อขึ้น เช่น แขกมาเยี่ยมบ้าน เจ้าของบ้านก็ต้องจัดเก้าอี้ที่อยู่ในสภาพเรียบร้อยให้แขก เป็นต้น ส่วนหน้าที่อันเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจริง เช่น แพทย์ประจำโรงพยาบาลระหว่างเดินทางกลับบ้าน เห็นผู้เจ็บป่วยก็เข้าช่วยเหลือรักษาพยาบาลอันมิใช่หน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญา หากงดเว้นไม่ทำหน้าที่ต่อไปให้ตลอด ก็ย่อมเป็นการงดเว้น

 
  สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคล
                1) สิทธิและหน้าที่ภายในขอบเขตวัตถุประสงค์ ซึ่งย่อมเป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้น จะทำการใดนอกขอบเขตวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ไม่ได้
                2) สิทธิและหน้าที่ซึ่งเหมือนกับบุคคลธรรมดา เว้นเสียแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งว่าโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา เช่น ไม่อาจที่จะทำการสมรส ไม่มีหน้าที่รับราชการทหาร ไม่มีสิทธิทางการเมือง เป็นต้น
                 การจัดการนิติบุคคล
                เนื่องจากนิติบุคคลเป็นสิ่งไม่มีชีวิตจิตใจจึงไม่สามารถที่จะแสดงเจตนาหรือทำการโดยตนเองได้ ดังนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70 วรรคสอง จึงบัญญัติว่า “ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล”

ประเด็นทางกฎหมายที่พบบ่อยในการประกอบวิชาชีพในทางแพ่ง

ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น

                ศาสตราจารย์ไพจิตร ปุญญพันธุ์ ให้ความหมายว่า เป็นความรับผิดของบุคคลผู้หนึ่งในการกระทำละเมิดของบุคคลอีกผู้หนึ่ง โดยที่บุคคลที่ต้องรับผิดนั้นไม่ได้กระทำละเมิดด้วยตนเอง ทั้งนี้โดยมีบทกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องรับผิด 

                หากพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น จะเห็นว่าในบทบัญญัติดังกล่าวนั้นจะกล่าวเฉพาะนายจ้างกับลูกจ้าง ดังนั้นต้องศึกษาเกี่ยวกับความหมายของนายจ้างและลูกจ้างว่าคืออะไร นายจ้างเป็นบุคคลซึ่งมีคำสั่งและควบคุมงานลูกจ้าง ส่วนลูกจ้างเป็นเพียงบุคคลที่อยู่ภายใต้คำสั่งของนายจ้างและต้องเชื่อฟังคำสั่งของนายจ้าง

                กรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพฯที่ทำงานในส่วนของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล สถานีอนามัย เป็นต้น  นั้นจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ หากมีการทำละเมิดเกิดขึ้น เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ มุ่งคุ้มครองการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เว้นแต่ว่าการละเมิดเกิดจากการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง กฎหมายจะไม่คุ้มครอง     

                ส่วนผู้ประกอบวิชาชีพฯทำงานในสถานพยาบาลเอกชน ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล ต่าง ๆนั้นจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากทรัพย์

                     เป็นความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลหรือทรัพย์อันตราย บุคคลที่ต้องรับผิด  ได้แก่ ผู้ครอบครองหรือควบคุมสำหรับทรัพย์อันตราย

อย่างไรก็ดี มีข้อยกเว้นความรับผิดเอาไว้ คือ หากพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือความผิดของผู้ต้องเสียหายเอง

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด

                ความมุ่งหมายในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเป็นหลักการพื้นฐานก็คือ ให้ผู้เสียหายกลับคืนสู่ฐานะเดิมเมื่อยังไม่มีการกระทำละเมิด ศาลเป็นผู้วินิจฉัยว่าค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใด ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

ขั้นตอนการดำเนินคดี
กระบวนพิจารณาคดีในศาล จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก จึงต้องมีการกำหนดวิธีปฏิบัติตามวันนัดพิจารณาคดีแต่ละนัดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม

ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่ง
1. ยื่นคำฟ้อง คำให้การ คำร้อง
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่กล่าวในฟ้องมีพยานหลักฐานให้ศาลเชื่อได้ โจทก์เรียกร้องอะไรจากจำเลย
2. นัดพร้อม
เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายมาศาลและต้องการที่จะให้มีการตกลงเจรจา ไกล่เกลี่ย กันก่อน ศาลจะสอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายว่าต้องการที่จะตกลงกันก่อนหรือไม่ มีพยานกี่ปาก แนวทางการสืบพยาน
3. นัดไกล่เกลี่ย
เมื่อเข้าห้องไกล่เกลี่ย เมื่อตกลงกันได้ก็จะมีการถอนฟ้องหรือทำสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่หากตกลงกันไม่ได้ สำนวนคดีก็จะถูกส่งกลับมาที่ห้องพิจารณาเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
4. นัดชี้สองสถาน
คือการกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีและหน้าที่นำสืบ
5. นัดสืบพยาน
สืบพยานโจทก์ พยานจำเลย
6. นัดฟังคำพิพากษา ศาลจะอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง ศาลจะวินิจฉัยพยานหลักฐานทั้งปวงในคดี ถ้าศาลเห็นว่าพยานหลักฐานฝ่ายไหนมีเหตุผลน่าเชื่อกว่าก็ตัดสินให้ฝ่ายนั้นชนะ

 

ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา

1. ยื่นคำฟ้อง

โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการจะต้องตรวจดูว่ามีพยานหลักฐานสนับสนุนว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่ และการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อกฎหมายหรือไม่

2. นัดไต่สวนมูลฟ้อง เฉพาะในคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ได้มีการสอบสวนมาแล้ว ปกติจะไม่มีการไต่สวนมูลฟ้อง พนักงานอัยการเพียงแต่นำตัวจำเลยมาศาลเพื่อยื่นฟ้อง

ส่วนคดีอาญาที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์เองก็ต้องเริ่มด้วยการไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ต้องนำพยานมาสืบให้ศาลเห็นว่าคดีของตนมีมูลที่ศาลจะรับฟ้องไว้พิจารณา โดยจำเลยจะมาฟังการไต่สวนมูลฟ้องหรือไม่ก็ได้ ถ้าศาลเห็นว่าคดีมีมูลจะสั่งรับฟ้อง และศาลจะออกหมายเรียกให้จำเลยมาสู้คดี

3. นัดสอบคำให้การจำเลย

เมื่อจำเลยมาศาลแล้วศาลจะอ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่าจะให้การอย่างไร ถ้าจำเลยปฏิเสธก็จะมีการนัดสืบพยานต่อไป

4. นัดตรวจพยานหลักฐาน

กรณีมีพยานหลักฐานมาก ศาลอาจเห็นว่าหรือคู่ความร้องขอ

5. นัดสืบพยาน

โจทก์มีหน้าที่นำพยานหลักฐานเข้าสืบก่อน ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด และจำเลยนำพยานหลักฐานสืบแก้ เมื่อสืบพยานเสร็จ ศาลจะนัดฟังคำพิพากษาต่อไป

6. นัดฟังคำพิพากษา

ในการตัดสินคดีศาลจะวินิจฉัยพยานหลักฐานทั้งปวงในคดี พยานหลักฐานของโจทก์ว่าสามารถฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดจริง โดยปราศจากข้อสงสัยอันสมควร ยกฟ้อง อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง

ค่าบริการในการว่าความในศาลชั้นต้น

1. คดีแพ่ง

คดีไม่มีข้อพิพาทหรือคดีไม่มีทุนทรัพย์

เป็นคดีที่มีการร้องขอฝ่ายเดียว เพื่อใช้สิทธิทางกฎหมาย เช่น คดีร้องจัดการมรดก, คดีร้องขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ หรือบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น ค่าว่าความคิดขั้นต่ำคดีละ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)

หมายเหตุ กรณีมีการคัดค้านหรือมีการต่อสู้คดี ก็จะมีการตกลงกันอีกครั้ง

คดีมีข้อพิพาท หรือคดีมีทุนทรัพย์

กรณีที่ท่านเป็นโจทก์หรือโจทก์ร่วม ท่านต้องชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีดังต่อไปนี้

คดีทุนทรัพย์ (บาท)ค่าทนายความ (บาท)ค่าวิชาชีพ(บาท)ค่าบังคับคดี   (ร้อยละ)
ไม่เกิน 50,000ขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณีขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณี30
50,001 ถึง 100,00015,00010,00030
100,001 ถึง 300,00030,00012,00030
300,001 ถึง 500,00035,00014,00030
500,001 ถึง 800,00040,00015,00020
800,001 ถึง 1,000,00045,00017,00020
1,000,001 ถึง 2,000,00050,00018,00010

2,000,001 ถึง 3,000,000

60,00019,00010
3,000,001 บาทขึ้นไปขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณีขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณี10

เงื่อนไขการดำเนินงาน
1. ท่านต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียม(ค่าขึ้นศาล)และค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการนำส่งคำ คู่ความเองเป็นค่าธรรมเนียมตามปกติของศาล

(ตามใบเสร็จรับเงิน) ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

คดีมโนสาเร่ ทุนทรัพย์ที่ฟ้อง ไม่เกิน 300,000 บาท เสียค่าขึ้นศาลไม่เกิน 1,000 บาท
คดีมีแพ่งสามัญ ทุน ทรัพย์ที่ฟ้อง ไม่เกิน 50 ล้านบาท เสียค่าขึ้นศาล ร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท
ขึ้นไป เสียค่าขึ้นศาล ร้อยละ 0.1 บาท
ค่านำหมาย,ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ (ถ้ามี),ค่าพาหนะของพยานหมาย (ถ้ามี)เป็นต้น
2. ท่านต้องชำระค่าทนายความตามทุนทรัพย์ก่อนที่จะทำคำฟ้องยื่นต่อศาล
3. ค่าบังคับคดี บริษัทฯ จะเรียกเก็บจากท่านต่อเมื่อมีการบังคับคดี หากไม่มีการบังคับคดีท่านไม่ต้องจ่ายค่าบังคับคดี
4. ค่าว่าความ (อัตราร้อยละ) ทางบริษัทฯ คิดตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง (ตามฟ้อง) และบริษัทฯ จะเรียกเก็บจากท่านต่อเมื่อ

ท่านได้รับเงินจากลูกหนี้หรือจำเลยแล้ว(ตามเกณฑ์เงินสดที่ท่านได้รับ)
5. กรณีทนายความไปศาลต่างจังหวัด บริษัทฯ จะเรียกเก็บอัตราค่าเดินทางไปศาลในแต่ละครั้ง ตามอัตราดังต่อไปนี้

ระยะทาง ไม่เกิน 300 กม. คิดค่าเดินทาง = 3,500 บาท
ระยะทาง 300 – 500 กม. คิดค่าเดินทาง = 4,500 บาท
ระยะทาง 500 กม. ขึ้นไป คิดค่าเดินทาง = 6,500 บาท
***สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร ท่านไม่ต้องชำระค่าเดินทางในส่วนนี้
หมายเหตุ

ค่าเดินทางดังกล่าวไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าที่พัก,ค่าตั๋วรถเดินทาง,ค่าน้ำมันรถยนต์,ค่าธรรมเนียมอื่นๆที่ทางราชการ หรือเอกชน

ออกให้ (ตามใบเสร็จรับเงิน)
6. คดีนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว จะตกลงกันตามความยากง่ายของการดำเนินคดี
7. การว่าจ้างมีการทำสัญญาว่าจ้างว่าความทุกครั้ง เพื่อให้ท่านเกิดความมั่นใจในการจ้างทนายความ

กรณีที่ท่านเป็นจำเลยหรือจำเลยร่วมในคดีแพ่ง
ในคดีที่มีการร้องสอดหรือร้องคัดค้านให้เป็นคดีมีข้อพิพาท คิดค่าว่าความ จำนวน 15,000 บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

คดีที่ท่านถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีแพ่ง
ก.) คดีที่มีข้อพิพาทจากมูลละเมิด คิดค่าว่าความขั้นต่ำ ตั้งแต่ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ขึ้นไป
ข.) คดีที่มีข้อพิพาทจากนิติกรรมสัญญา คิดค่าว่าความขั้นต่ำ ตั้งแต่ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ขึ้นไป

ต่างจังหวัด ท่านต้องชำระค่าเดินทาง ตามอัตราดังต่อไปนี้

ระยะทาง ไม่เกิน 300 กม. คิดค่าเดินทาง = 2,500 บาท
ระยะทาง 300 – 500 กม. คิดค่าเดินทาง = 3,000 บาท
ระยะทาง 500 กม. ขึ้นไป คิดค่าเดินทาง = 4,000 บาท
หมายเหตุ

ค่าเดินทางดังกล่าวไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าที่พัก, ค่าตั๋วรถเดินทาง, ค่าน้ำมันรถยนต์, ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่ทางราชการหรือเอกชนออกให้ (ตามใบเสร็จรับเงิน)

หรือ ในราคาตกลงกัน แล้วแต่กรณี

Scroll to Top