
เงินกองทุนหมู่บ้าน ใครเป็นเจ้าของ? เจ้าหนี้จะมายึดได้หรือไม่ ?
หลายครั้งที่เราได้ยินข่าวว่าเจ้าหนี้พยายามที่จะยึดทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ แต่ทรัพย์สินบางอย่างก็ไม่สามารถถูกยึดได้ตามกฎหมาย หนึ่งในนั้นคือ "เงินกองทุนหมู่บ้าน"
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๗/๒๕๖๗ ได้ตัดสินเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างชัดเจน โดยศาลฎีกาเห็นว่าเงินในบัญชีของกองทุนหมู่บ้าน ไม่ใช่เงินของจำเลยที่เป็นหนี้ แต่เป็นเงินของกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ
กองทุนหมู่บ้านมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนคือการเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ และช่วยเหลือประชาชนในหมู่บ้าน ดังนั้น เงินทุนเหล่านี้จึงต้องถูกใช้ไปในทางที่ถูกต้องตามกฎหมายกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๒๒๗/๒๕๖๗ วันที่ ๒๓ เดือน มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๗
ความแพ่ง ระหว่าง นายอ้วน สุรินทร์ ที่ ๑ นายสุริยนต์ จันต๊ะ ที่ ๒ โจทก์ ธนาคารออมสิน ผู้คัดค้าน กองทุนหมู่บ้างหนองฮ่าง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำเลย เรื่อง ตัวแทน (ชั้นบังคับคดี) จำเลย ฎีกาคัดค้าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๕ ลงวันที่ ๑๗ เดือน สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ศาลฎีกา รับวันที่ ๑๐ เดือน สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ทั้งสองคนละ ๒๓๔,๗๘๘.๕๓ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ พิพากษายืน จำเลยยื่นคำร้องร้องขออนุญาตฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกา จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องว่า โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้มีคำสั่งอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่เปิดไว้กับ ผู้คัดค้าน บัญชีเลขที่ ที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๔๕๗๗ จำนวน ๙๙,๐๐๐ บาท และบัญชีเลขที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๖๓๔๑ จำนวน ๑๙๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๒๘๙,๐๐๐ บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยไปยังผู้คัดค้านแล้ว แต่ผู้คัดค้านมีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า เงินฝากของจำเลยในบัญชีดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินต้องห้ามมิให้ยึดหรืออายัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๗ และเป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๐๑ (๕) และผู้คัดค้านไม่ส่งเงินฝากของจำเลยในบัญชีดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี โจทก์ทั้งสองเห็นว่าตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๑๔ ระบุว่าจำเลยไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ดังนั้น เงินฝากของจำเลยจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของแผ่นดินที่ต้องห้ามมิให้ยึดหรืออายัด แต่เป็นทรัพย์สินที่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ขอให้ผู้คัดค้านสูงเงินฝากของจำเลยตามที่โจทก์ทั้งสองขออายัดรวมเป็นเงิน ๒๘๙,๐๐๐ บาท แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี หากไม่ส่งขอให้ผู้คัดค้านชำระค่าสินไหมทดแทนเท่าจำนวนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสองตามประมวงกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๒๑ จำเลยยื่นคำร้องและคำคัดค้านในทำนองเดียวกันว่า เงินที่โจทก์ทั้งสองขออายัดทั้งสองบัญชีไม่ใช่เงินของจำเลย แต่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินเพราะเงินในบัญชีแรกเป็นเงินที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้นำมาจัดสรรอุดหนุนแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยบริหารจัดการแทนรัฐบาล ส่วนเงินในบัญชีที่สองเป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากไว้กับจำเลยซึ่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๖ (๓) บัญญัติให้เงินดังกล่าวเป็นทุนและทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินการของจำเลย จึงไม่อยู่ภายใต้การบังคับคดี ขอให้ยกคำร้องของโจทก์ทั้งสองและมีคำสั่งเพิกถอนการอายัดเงินฝากทั้งสองบัญชีดังกล่าว ผู้คัดค้านอื่นคำคัดค้านว่า จำเลยเป็นหน่วยงานของรัฐ เงินในบัญชีของจำเลยเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินต้องห้ามมิให้ยึดหรืออายัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๗ และเป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ขอให้ยกคำร้องของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองยื่นคำคัดค้านคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดของจำเลยว่า จำเลยไม่ได้มีฐานะเป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ เงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยทั้งสองบัญชีจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของแผนดินที่ต้องห้ามมิให้ยึดหรืออายัด ขอให้ยกคำร้องของจำเลย ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว มีคำสั่งเพิกถอนการอาอัดเงินในบัญชี ธนาคารออมสิน สาขาฝาง ชื่อบัญชีกองทุนหมู่บ้านหนองฮ่าง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ บัญชีเลขที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๔๕๗๗ และบัญชีเลขที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๖๓๔๑ ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ พิพากษากลับให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินของจำเลยที่ฝากธนาคารออมสิน สาขาฝาง บัญชีเลขที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๔๕๗๗ จำนวน ๙๙,๐๐๐๐ บาท และบัญชีเลขที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๖๓๔๑ จำนวน๑๙๐,๐๐๐ บาท ตามคำขอของโจทก์ทั้งสองหากธนาคารออมสิน ผู้คัดค้าน ไม่ส่งมอบเงินที่อายัดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ผู้คัดค้านชำระเงินเท่าจำนวนเงินที่อายัดแก่โจทก์ทั้งสองแทน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน ๒๐๑ บาทแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ศาลฎีกาตรวจสำนวน ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า จำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองตามคำพิพากษา ใจทก์ทั้งสองตรวจพบว่าจำเลยมีเงินในบัญชีเงินฝากกับผู้คัดค้าน บัญชีเลขที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๔๕๗๗ จำนวน ๙๙,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยได้รับอุดหนุนจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และบัญชีเลขที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๖๓๔๑ จำนวน ๑๙๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากเพื่อการถอน รวมสองบัญชีเป็นเงิน ๒๘๙,๐๐๐ บาท โจทก์ทั้งสองขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินทั้งสองบัญชีดังกล่าว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือฉบับลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ ถึงผู้คัดค้านขอออายัดเงินทั้งสองบัญชีให้ผู้คัดค้านส่งเงินทั้งสองบัญชีไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ผู้คัดค้านไม่ส่งเงินทั้งสองบัญชีดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและมีหนังสือลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ถึงเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งว่า เงินทั้งสองบัญชีเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินต้องห้ามมิให้ยืดหรืออายัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๗ และเป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๐๑ (๕) ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่าเงินในบัญชีเงินฝากทั้งสองบัญชีของจำเลยที่โจทก์ทั้งสองขออายัดเป็น และเป็นเงินที่โจทก์ทั้งสองจะบังคับคดีได้หรือไม่ เห็นว่า จำเลยเป็นกองทุนหมู่บ้าน ตามมาตรา ๓ ประกอบมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านต้องจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ หรือกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยต้องดำเนินการยื่นคำขอจัดตั้งและจดทะเบือนกองทุนหมู่บ้านต่อนายทะเบียนตามตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนทนหมู่บ้านและชุมชนมืองแห่งชาติกำหนด และมีฐานะเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ.๒๕๔๙ จำเลยจึงมิได้เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงมิใช่นิติบุคคลเอกชน แต่เป็นนิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕ (๑) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้ หรือสำหรับส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพและสวัสดิการ หรือประประโยชน์ส่วนรวมอื่นให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (๒) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อธรรเท่าความเดือดร้อนเร่งด่วนสำหรับประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (๓) รับฝากเงินจากสมาชิกและจัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนอื่นเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ (๔).. (๕)... ทั้งการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านต้องเป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนดและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีผู้รักษาการตามมาตรา ๒๙ กองทุนหมู่บ้านมีเงินและทรัพย์สินในการดำเนินการปรากฏตามมาตรา ๖ ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้แก่ (๑) เงินที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จัดสรรให้ (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๓) เงินที่สมาชิกนำมาลงหุ้นหรือฝากไว้กับกองทุน (๔) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้านได้รับบริจาคโดยปราศจากเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใด ๆ (๔) ดอกผล รายได้ หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหม้าน ทั้งนี้ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นั้น มาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติให้เป็น “หน่วยงานของรัฐ” และมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๑๑ และกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๕ จึงเป็น “หน่วยงานของรัฐ” ที่มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อจัดทำภารกิจของรัฐในการสร้างศักยภาพและความเข็มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ โดยไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรตอบแทน โดยเงินทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการส่วนหนึ่งเป็นเงินอุดหนุนจากงบประมาณของรัฐ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือแม้จะมีเงินบริจาคเข้ามาด้วย เงินบริจาคดังกล่าว มาตรา ๑๒ ของพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชวติ พ.ศ.๒๕๔๗ ก็บัญญัติว่าต้องไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพัน เนื่องจากเป็นการบริจาคเพื่อมาช่วยเหลือการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ หรือแม้จะมีทรัพย์สินในส่วนที่เป็นรายได้ เช่นดอกผลหรือผลประโยชน์อย่างอื่น แต่เมื่อตัวกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินที่เป็นรายได้ของกองทุนย่อมเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน นอกจากนี้ การที่ มาตรา ๑๔ บัญญัติว่า “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ" ก็เพียงเพื่อไม่ให้ต้องนำรายได้ส่งกระทรวงการคลังและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ก็เห็นความคลองตัวทางการเงินอันเป็นการยกเว้นหลักทั่วไปตาม มาตรา ๒๔ วรรคหนึ่ง แห่งวิธีการงบประมาณ พ.ศ.๒๕๐๒ ที่บัญญัติว่า “บรรดาเงินที่ส่วนราชการได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมายหรือระเบียบ ข้อบังคับ หรือได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่หรือสัญญา หรือได้รับจากการใช้ทรัพย์สินหรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของทางราช ให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินนั้น นำส่งคลังตามระเบียบหรือข้อบังคับที่รัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น" ดังนั้นเงินฝากในบัญชีเงินฝากกับผู้คัดค้าน เลขที่ ๐๕๐๖๗๐๙๔๔๕๗๗ จำนวน ๙๙,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นเงินที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้จำเลยเสียเพื่อเป็นเงินอุดหนุนจึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ไม่อาจยึดหรืออายัดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๗ และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา ๓๐๑ (๕) ส่วนเงินฝากในบัญชีเงินฝากเลขที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๖๓๔๑ จำนวน ๑๙๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากเพื่อการออมก็เป็นเงินฝากของสมาชิกที่นำมาฝากตามวัตถุประสงค์ของการจัดกองทุนหมู่บ้านเพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชน ในหมู่บ้านตามหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ โดยยจำเลยมิได้มีเจตนารมณ์ในการรับฝากเงินเพื่อหากำไรในทางธุรกิจหรือพาณิชย์กรรม เงินจำนวนดังกล่าวที่ฝากไว้กับธนาคารผู้คัดค้านในบัญชีของจำเลย จึงเป็นเงินของสมาชิก มิไม่เงินของจำเลยที่จะยึดหรืออายัดเพื่อบังคับคดีชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองได้ตามประประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๐๓ และมาตรา ๓๑๖ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ พิพากษาให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินฝากในบัญชีของจำเลยทั้งสองปัญชีตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง และให้ผู้คัดค้านชำระเงินเท่าจำนวนเงินที่อายัดแก่โจทก์ทั้งสอง ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น พิพากษากลับเป็นให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน ๒๐๐ บาท แก่โจทก์ทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาให้เป็นพับ. นายสุวิทย์ พรพานิช นายสถาพร ดาโรจน์ นายสุจินต์ เชี่ยวชาญศิลป์- พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗: มาตรา ๕, ๖, ๑๑, ๑๒, ๑๔ (วัตถุประสงค์, ประเภทเงินทุน, สถานะกองทุน)
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: มาตรา ๑๓๐๗ (ทรัพย์สินของแผ่นดิน)
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง: มาตรา ๓๐๑ (๕), ๓๐๓, ๓๑๖ (การบังคับคดี, ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิด)
- กองทุนหมู่บ้านคือนิติบุคคล: จัดตั้งตามกฎหมายเฉพาะ ไม่ใช่นิติบุคคลตาม ป.พ.พ. โดยศาลได้วินินฉัยประเด็นนี้ใจความ "จำเลยเป็นกองทุนหมู่บ้าน ตามมาตรา ๓ ประกอบมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านต้องจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ หรือกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยต้องดำเนินการยื่นคำขอจัดตั้งและจดทะเบือนกองทุนหมู่บ้านต่อนายทะเบียนตามตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนทนหมู่บ้านและชุมชนมืองแห่งชาติกำหนด และมีฐานะเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ.๒๕๔๙ จำเลยจึงมิได้เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงมิใช่นิติบุคคลเอกชน แต่เป็นนิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นั้น มาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติให้เป็น “หน่วยงานของรัฐ” และมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๑๑ และกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๕ จึงเป็น “หน่วยงานของรัฐ” ที่มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อจัดทำภารกิจของรัฐในการสร้างศักยภาพและความเข็มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ โดยไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรตอบแทน "
- เงินกองทุนมีหลายประเภท: เงินรัฐจัดสรร, เงินอุดหนุน, เงินสมาชิก, เงินบริจาค
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า"โดยเงินทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการส่วนหนึ่งเป็นเงินอุดหนุนจากงบประมาณของรัฐ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือแม้จะมีเงินบริจาคเข้ามาด้วย เงินบริจาคดังกล่าว มาตรา ๑๒ ของพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชวติ พ.ศ.๒๕๔๗ ก็บัญญัติว่าต้องไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพัน เนื่องจากเป็นการบริจาคเพื่อมาช่วยเหลือการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ หรือแม้จะมีทรัพย์สินในส่วนที่เป็นรายได้ เช่นดอกผลหรือผลประโยชน์อย่างอื่น แต่เมื่อตัวกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินที่เป็นรายได้ของกองทุนย่อมเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน นอกจากนี้ การที่ มาตรา ๑๔ บัญญัติว่า “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ" ก็เพียงเพื่อไม่ให้ต้องนำรายได้ส่งกระทรวงการคลังและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ก็เห็นความคลองตัวทางการเงินอันเป็นการยกเว้นหลักทั่วไปตาม มาตรา ๒๔ วรรคหนึ่ง แห่งวิธีการงบประมาณ พ.ศ.๒๕๐๒ ที่บัญญัติว่า “บรรดาเงินที่ส่วนราชการได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมายหรือระเบียบ ข้อบังคับ หรือได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่หรือสัญญา หรือได้รับจากการใช้ทรัพย์สินหรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของทางราช ให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินนั้น นำส่งคลังตามระเบียบหรือข้อบังคับที่รัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น" ดังนั้นเงินฝากในบัญชีเงินฝากกับผู้คัดค้าน เลขที่ ๐๕๐๖๗๐๙๔๔๕๗๗ จำนวน ๙๙,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นเงินที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้จำเลยเสียเพื่อเป็นเงินอุดหนุนจึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ไม่อาจยึดหรืออายัดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๗ และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา ๓๐๑ (๕) ส่วนเงินฝากในบัญชีเงินฝากเลขที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๖๓๔๑ จำนวน ๑๙๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากเพื่อการออมก็เป็นเงินฝากของสมาชิกที่นำมาฝากตามวัตถุประสงค์ของการจัดกองทุนหมู่บ้านเพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชน ในหมู่บ้านตามหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ โดยยจำเลยมิได้มีเจตนารมณ์ในการรับฝากเงินเพื่อหากำไรในทางธุรกิจหรือพาณิชย์กรรม เงินจำนวนดังกล่าวที่ฝากไว้กับธนาคารผู้คัดค้านในบัญชีของจำเลย จึงเป็นเงินของสมาชิก มิไม่เงินของจำเลยที่จะยึดหรืออายัดเพื่อบังคับคดีชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองได้ตามประประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๐๓ และมาตรา ๓๑๖ "
- ไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัว: มีไว้ช่วยเหลือประชาชน ไม่ใช่ของกรรมการหรือสมาชิก
- เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์ยึด: เงินกองทุนไม่ใช่เงินของจำเลยที่เป็นหนี้
ดังนั้น หากใครที่กำลังสงสัยว่าเจ้าหนี้จะสามารถมายึดเงินกองทุนหมู่บ้านได้หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ได้ เพราะเงินเหล่านี้ไม่ใช่เงินส่วนตัวของลูกหนี้ แต่เป็นเงินของส่วนรวมที่ต้องใช้เพื่อประโยชน์ของคนในหมู่บ้าน
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกองทุนหมู่บ้านได้มากขึ้นนะครับ
คำสำคัญ: กองทุนหมู่บ้าน, เงินอุดหนุน, ทรัพย์สินของแผ่นดิน, การบังคับคดี, เจ้าหนี้, ลูกหนี้