
การปล่อยตัวชั่วคราวหรือการประกันตัวระหว่างพิจารณาคดี
การปล่อยตัวชั่วคราวตามกฎหมายไทย เป็นหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ให้โอกาสแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ยังไม่ได้รับคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิด ได้รับอิสรภาพชั่วคราวระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีในชั้นศาล โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด
หลักการพื้นฐาน
- สันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์: บุคคลทุกคนต้องได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิด การปล่อยตัวชั่วคราวจึงเป็นไปเพื่อรักษาสิทธิเสรีภาพของบุคคล
- ดุลพินิจของศาล: การพิจารณาว่าจะอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
- สิทธิในการขอปล่อยตัวชั่วคราว: ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวได้ ไม่ว่าในชั้นสอบสวนหรือชั้นพิจารณาคดี
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย: มาตรา 29 บัญญัติว่า ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา: ลักษณะ 5 หมวด 3 ว่าด้วยการปล่อยชั่วคราว มาตรา 106 ถึง 119 ทวิ ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราว
หมวด 3 ปล่อยชั่วคราว
————————-มาตรา 106 คำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยไม่ต้องมีประกัน หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกัน ไม่ว่าผู้นั้นต้องควบคุมหรือขังตามหมายศาล ย่อมยื่นได้โดยผู้ต้องหา จำเลย หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง ดังนี้(1) เมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี(2) เมื่อผู้ต้องหาต้องขังตามหมายศาลและยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อศาลนั้น(3) เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้องแล้ว ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น(4)2 เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้ว แม้ยังไม่มีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา หรือมีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้นในกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว ให้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต มิฉะนั้นให้รีบส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเพื่อสั่ง แล้วแต่กรณี(5) เมื่อศาลส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้ว จะยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น หรือจะยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณีก็ได้ในกรณีที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเพื่อสั่ง แล้วแต่กรณีมาตรา 107 เมื่อได้รับคำร้องให้ปล่อยชั่วคราว ให้เจ้าพนักงานหรือศาลรีบสั่งอย่างรวดเร็วและผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 108 มาตรา 108/1 มาตรา 109 มาตรา 110 มาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 113 และมาตรา 113/1คำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าวโดยทันทีมาตรา 108 ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบ(1) ความหนักเบาแห่งข้อหา(2) พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด(3) พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร(4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด(5) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่(6) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่(7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทก์ หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราวหรือศาลอาจรับฟังข้อเท็จจริง รายงานหรือความเห็นของเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการนั้นเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งคำร้องด้วยก็ได้ในการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราวหรือศาลจะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่หรือเงื่อนไขอื่นใดให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติ หรือในกรณีที่ผู้นั้นยินยอมจะสั่งให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการหลบหนี หรือภัยอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น แต่ถ้าผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ แม้ผู้นั้นยินยอม จะสั่งให้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวได้ต่อเมื่อผู้นั้นมีพฤติการณ์ที่อาจเป็นภัยต่อบุคคลอื่นอย่างร้ายแรง หรือมีเหตุสมควรประการอื่นมาตรา 108/1 การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้(1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี(2) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน(3) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น(4) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ(5) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาลคำสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวต้องแสดงเหตุผล และต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยและผู้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวทราบเป็นหนังสือโดยเร็วมาตรา 108/2 ในกรณีที่พยานสำคัญในคดีอาจได้รับภัยอันตรายอันเนื่องมาแต่การปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย พยานนั้นอาจคัดค้านการปล่อยชั่วคราวนั้นได้ โดยยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล แล้วแต่กรณีถ้ามีคำคัดค้านการปล่อยชั่วคราวตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาล แล้วแต่กรณี พิจารณาคำคัดค้านดังกล่าวทันที โดยให้มีอำนาจเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่ายมาสอบถามเพื่อประกอบการพิจารณาและมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรมาตรา 109 ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องหาหรือถูกฟ้องในความผิดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปี ถ้ามีคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ในระหว่างสอบสวนหรือระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลจะต้องถามพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือโจทก์ว่าจะคัดค้านประการใดหรือไม่ ถ้าไม่อาจถามได้โดยมีเหตุอันควรศาลจะงดการถามเสียก็ได้แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้มาตรา 110 ในคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป ผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราวต้องมีประกัน และจะมีหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้ในคดีอย่างอื่นจะปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันเลย หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันด้วยก็ได้การเรียกประกันหรือหลักประกันตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองจะเรียกจนเกินควรแก่กรณีมิได้ และต้องคำนึงถึงเงื่อนไขและมาตรการป้องกันต่าง ๆ ที่ได้ใช้กับผู้ถูกปล่อยชั่วคราวประกอบด้วย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือข้อบังคับของประธานศาลฎีกา แล้วแต่กรณีมาตรา 111 เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันเลย ก่อนที่จะปล่อยไป ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะมาตามนัดหรือหมายเรียกมาตรา 112 เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกัน ก่อนปล่อยไปให้ผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกันลงลายมือชื่อในสัญญาประกันนั้นในสัญญาประกันนอกจากข้อความอย่างอื่นอันพึงมี ต้องมีข้อความดังนี้ด้วย(1) ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวหรือผู้ประกัน แล้วแต่กรณี จะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาล ซึ่งให้ปล่อยชั่วคราว(2) เมื่อผิดสัญญาจะใช้เงินจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประกันจะกำหนดภาระหน้าที่หรือเงื่อนไขให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราว หรือผู้ประกันต้องปฏิบัติเกินความจำเป็นแก่กรณีมิได้มาตรา 113 เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการสั่งปล่อยชั่วคราวไม่ว่าจะมีประกันหรือมีประกันและหลักประกันหรือไม่ การปล่อยชั่วคราวนั้นให้ใช้ได้ระหว่างการสอบสวนหรือจนกว่าผู้ต้องหาถูกศาลสั่งขังระหว่างสอบสวนหรือจนถึงศาลประทับฟ้อง แต่มิให้เกินสามเดือนนับแต่วันแรกที่มีการปล่อยชั่วคราว ไม่ว่าเป็นการปล่อยชั่วคราวโดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นทำให้ไม่อาจทำการสอบสวนได้เสร็จภายในกำหนดสามเดือนจะยืดเวลาการปล่อยชั่วคราวให้เกินสามเดือนก็ได้ แต่มิให้เกินหกเดือนเมื่อการปล่อยชั่วคราวสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่งแล้ว ถ้ายังมีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมผู้ต้องหาไว้ต่อไปให้ส่งผู้ต้องหามาศาล และให้นำบทบัญญัติมาตรา 87 วรรคสี่ ถึงวรรคเก้า มาใช้บังคับมาตรา 113/1 ในกรณีที่มีการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนโดยมีการวางเงินสดหรือหลักทรัพย์อื่นเป็นประกันไม่ว่าต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ และยังไม่ได้รับคืน หากผู้ต้องหาหรือจำเลยประสงค์จะขอปล่อยชั่วคราวต่อไป ผู้ต้องหาหรือจำเลยหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องอาจยื่นคำร้องต่อพนักงานอัยการหรือศาล แล้วแต่กรณี โดยขอให้ถือเอาทรัพย์สินดังกล่าวเป็นหลักประกันต่อไปก็ได้ เมื่อพนักงานอัยการหรือศาลเห็นสมควรแล้วอาจมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยถือว่าเงินสดหรือหลักทรัพย์ดังกล่าวนั้นเป็นหลักประกันในชั้นพนักงานอัยการหรือศาล แล้วแต่กรณีก็ได้ ให้พนักงานอัยการหรือศาลนั้นแจ้งพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี ให้ส่งหลักประกันเช่นว่านั้นต่อพนักงานอัยการหรือศาลภายในระยะเวลาที่พนักงานอัยการหรือศาลเห็นสมควรในกรณีปล่อยชั่วคราว โดยมีบุคคลเป็นประกันหรือหลักประกันต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ หากบุคคลเช่นว่านั้นร้องขอ พนักงานอัยการหรือศาลอาจถือเอาบุคคลนั้นเป็นประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวต่อไปก็ได้ กรณีเช่นว่านี้ พนักงานอัยการหรือศาลจะแจ้งให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี ส่งเอกสารเกี่ยวกับการประกันภายในระยะเวลาที่เห็นสมควรมาตรา 114 เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยให้มีประกันและหลักประกันด้วย ก่อนปล่อยตัวไป ให้ผู้ร้องขอประกันจัดหาหลักประกันมาดังต้องการหลักประกันมี 3 ชนิด คือ(1) มีเงินสดมาวาง(2) มีหลักทรัพย์อื่นมาวาง(3) มีบุคคลมาเป็นหลักประกัน โดยแสดงหลักทรัพย์มาตรา 115 โดยความปรากฏต่อมา หรือเนื่องจากกลฉ้อฉลหรือผิดหลง ปรากฏว่าสัญญาประกันต่ำไปหรือหลักประกันไม่เพียงพอ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ไม่เหมาะสม ให้เจ้าพนักงานหรือศาลมีอำนาจสั่งเปลี่ยนสัญญาประกันให้จำนวนเงินสูงขึ้น หรือเรียกหลักประกันเพิ่ม หรือให้ดีกว่าเดิม หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นภายหลังที่มีคำสั่งปล่อยชั่วคราวแล้ว หากพฤติการณ์แห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ให้เจ้าพนักงานหรือศาลมีอำนาจสั่งลดหลักประกันได้ตามที่เห็นสมควรในกรณีที่ศาลปล่อยชั่วคราวและคดีขึ้นไปสู่ศาลสูง ศาลสูงมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินตามสัญญาประกันหรือเงื่อนไขที่ศาลล่างกำหนดไว้ได้ตามที่เห็นสมควรมาตรา 116 การขอถอนสัญญาประกันหรือขอถอนหลักประกัน ย่อมทำได้เมื่อผู้ทำสัญญามอบตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยคืนต่อเจ้าพนักงานหรือศาลมาตรา 117 เมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยหนีหรือจะหลบหนี ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่พบการกระทำดังกล่าวมีอำนาจจับผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นได้ แต่ในกรณีที่บุคคลซึ่งทำสัญญาประกันหรือเป็นหลักประกันเป็นผู้พบเห็นการกระทำดังกล่าว อาจขอให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ใกล้ที่สุดจับผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ ถ้าไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานได้ทันท่วงที ก็ให้มีอำนาจจับผู้ต้องหาหรือจำเลยได้เอง แล้วส่งไปยังพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ใกล้ที่สุด และให้เจ้าพนักงานนั้นรีบจัดส่งผู้ต้องหาหรือจำเลยไปยังเจ้าพนักงานหรือศาล โดยคิดค่าพาหนะจากบุคคลซึ่งทำสัญญาประกันหรือเป็นหลักประกันนั้นในกรณีที่มีคำสั่งให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดตามมาตรา 108 วรรคสามกับผู้ต้องหาหรือจำเลยใด ถ้าปรากฏว่าอุปกรณ์ดังกล่าวถูกทำลายหรือทำให้ใช้การไม่ได้ไม่ว่าโดยวิธีใด ให้สันนิษฐานว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นหนีหรือจะหลบหนีถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองเป็นบุคคลที่ศาลสั่งปล่อยชั่วคราว ศาลอาจมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลดำเนินการแจ้งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้น หรือถ้ามีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานได้ทันท่วงที ก็ให้มีอำนาจจับผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ และเมื่อจับได้แล้ว ให้นำผู้ถูกจับไปยังศาลโดยเร็วมาตรา 118 เมื่อคดีถึงที่สุดหรือความรับผิดตามสัญญาประกันหมดไปตามมาตรา 116 หรือโดยเหตุอื่น ให้คืนหลักประกันแก่ผู้ที่ควรรับไปมาตรา 119 ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้อง ทั้งนี้ ศาลอาจสั่งงดการบังคับตามสัญญาประกันหรือลดจำนวนเงินที่ต้องใช้ตามสัญญาประกันก็ได้ โดยคำนึงถึงความพยายามของผู้ประกันในการติดตามตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หลบหนี รวมทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามีมากน้อยเพียงใดประกอบด้วย และเมื่อศาลสั่งประการใดแล้วฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุดเงินสดหรือหลักทรัพย์อื่นที่นำมาวางต่อศาลเพื่อเป็นหลักประกันตามมาตรา 114 ไม่อยู่ในข่ายที่จะถูกยึดหรืออายัดเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อื่นจนกว่าความรับผิดตามสัญญาประกันจะระงับสิ้นไป เว้นแต่ศาลเห็นว่าหนี้ของเจ้าหนี้นั้นมิได้เกิดจากการฉ้อฉลและมีคำสั่งให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าวในกรณีที่จำเป็นต้องมีการบังคับคดีเพราะผิดสัญญาประกันตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือคำสั่งอื่นใดเพื่อบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลซึ่งต้องรับผิดตามสัญญาประกันได้เสมือนว่าเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยให้เจ้าพนักงานศาลที่ได้รับแต่งตั้งและพนักงานอัยการเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับตามสัญญาประกัน และให้เจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี มีอำนาจหน้าที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ประกันและขายทอดตลาดตามที่ได้รับแจ้งจากศาล หรือพนักงานอัยการ และถ้าจะต้องขายทรัพย์สินที่วางเป็นหลักประกันไว้ต่อศาล เมื่อศาลส่งทรัพย์สินหรือหนังสือสำคัญสำหรับทรัพย์สินนั้นไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี ให้ถือว่าได้มีการยึดทรัพย์สินดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ มิให้หน่วยงานของรัฐเรียกค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจากผู้ดำเนินการบังคับคดีการบังคับคดีตามมาตรานี้ ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม เว้นแต่ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจะออกข้อบังคับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อบังคับนั้นเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้มาตรา 119 ทวิ ในกรณีที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ผู้ร้องขอมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ ดังต่อไปนี้(1) คำสั่งของศาลชั้นต้น ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์(2) คำสั่งของศาลอุทธรณ์ ให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งรีบส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมด้วยสำนวนความ หรือสำเนาสำนวนความเท่าที่จำเป็นไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณา และมีคำสั่งโดยเร็วคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวยืนตามศาลชั้นต้นให้เป็นที่สุด แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นคำร้องให้ปล่อยชั่วคราวใหม่
เหตุผลในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 และ 108/1 ศาลจะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
- ความหนักเบาแห่งข้อหา: หากข้อหามีอัตราโทษสูง โอกาสที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวก็จะน้อยลง
- พยานหลักฐานที่ปรากฏในคดี: หากมีพยานหลักฐานแน่นหนา โอกาสที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวก็จะน้อยลง
- พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดี: เช่น พฤติการณ์ในการกระทำความผิด ประวัติอาชญากรรม
- เหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี: หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี ศาลจะไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราว
- เหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน: หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ศาลจะไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราว
- เหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น: หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น ศาลจะไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราว
- ความน่าเชื่อถือของผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกัน: หากผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ ศาลจะไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราว
- การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนหรือการดำเนินคดีในศาล: หากการปล่อยตัวชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนหรือการดำเนินคดีในศาล ศาลจะไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราว
หลักประกัน
ในการขอปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาหรือจำเลยอาจต้องมีหลักประกัน เช่น
- เงินสด
- หลักทรัพย์อื่น เช่น ที่ดิน โฉนดที่ดิน
- บุคคลเป็นหลักประกัน
บทลงโทษกรณีหลบหนี
ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หลบหนีระหว่างได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว มีความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 117/3 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สรุป
การปล่อยตัวชั่วคราวเป็นสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลย แต่ศาลจะพิจารณาอนุญาตโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการรักษาสิทธิเสรีภาพของบุคคลและการอำนวยความยุติธรรมในสังคม
คำแนะนำเพิ่มเติม
หากท่านต้องการขอปล่อยตัวชั่วคราว ควรปรึกษาทนายความเพื่อขอคำแนะนำและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างถูกต้อง
เหตุผลที่ควรขอปล่อยตัวชั่วคราว
เพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยดำเนินชีวิตประจำวัน:
เช่น การทำงาน การเรียน หรือดูแลครอบครัว
เพื่อเตรียมการต่อสู้คดี:
สามารถปรึกษาทนายความและรวบรวมพยานหลักฐานได้สะดวกขึ้น
ช่วยบรรเทาความแออัดในเรือนจำ:
ลดจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำ
ประเภทของการปล่อยตัวชั่วคราว
การปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีประกัน:
เป็นการปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยไม่ต้องวางหลักประกันใดๆ เพียงแต่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะมาตามนัดหรือหมายเรียกของศาลเท่านั้น
การปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีประกัน:
เป็นการปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว โดยผู้ร้องขอประกันหรือผู้ประกันต้องทำสัญญาประกันต่อศาลว่าจะปฏิบัติตามนัดหรือตามหมายเรียกของศาล ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มาตามนัดหรือหมายเรียก ผู้ประกันจะถูกปรับตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาประกัน
การปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกัน:
เป็นการปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว โดยนอกจากจะมีผู้ประกันแล้ว ยังต้องมีการวางหลักประกันเป็นเงินสดหรือทรัพย์สินอื่นๆ เพื่อเป็นการรับรองว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะมาตามนัดของศาล หากผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มาตามนัด หลักประกันนี้จะถูกยึด.
การขอประกันตัวต่อศาล
1. การขอประกันตัวระหว่างชั้นฝากขัง (ขณะเป็นผู้ต้องหายังไม่ได้ถูกสั่งฟ้องคดี)
ทําได้เมื่อผู้ต้องหาถูกเจ้าหน้าที่ตํารวจหรือพนักงานอัยการนําตัวมาขออนุญาตศาลฝากขัง ระหว่างที่ยังสอบสวนไม่เสร็จ ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นขอประกันตัวต่อศาล
2. การขอประกันตัวชั้นพิจารณาคดี
ทําได้เมื่อผู้ต้องหาถูกพนักงานอัยการฟ้องต่อศาล และเปลี่ยนฐานะจากผู้ต้องหาเป็นจําเลย จําเลยมีสิทธิขอประกันตัวต่อศาลได้
ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ (ผู้เสียหายฟ้องเอง) เมื่อศาลประทับฟ้องแล้ว จําเลยจะยื่นขอประกันตัวก่อนวันนัดหรือในวันนัดที่ระบุในหมายเรียกให้มาแก้คดีก็ได้
3. การขอประกันตัวชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา
เมื่อมีกรณีที่จําเลยถูกขังหรือจําคุกโดยผลของคําพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ จําเลยอาจยื่นขอประกันตัวก่อนที่จะยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฎีกา หรือจะยื่นขอประกันตัวพร้อมกันหรือหลังจากยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฎีกาก็ได้
การขอประกันตัวดังกล่าว ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดี หรืออาจยื่นต่อศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาค หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ การประกันตัวในชั้นใดก็จะใช้ได้ในชั้นนั้น เมื่อชั้นของการของประกันตัวเปลี่ยนไปก็ต้องยื่นขอประกันตัวใหม
ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอประกันตัว
- ผู้ต้องหาหรือจำเลย
- ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เช่น บุพการี ผู้สืบสันดาน คู่สมรส ญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในการขอประกันตัว
- บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ หรือบัตรแสดงตำแหน่งหน้าที่การงาน ทะเบียนบ้านของจำเลยและผู้ประกันพร้อมสำเนา
- หลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก) เงินสด บัญชีเงินฝาก
- หนังสือรับรองจากต้นสังกัดหรือนายจ้าง (กรณีขอประกันตัวด้วยตำแหน่งหน้าที่)
- หนังสือรับรองราคาประเมิน (กรณีใช้โฉนดที่ดิน, หนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นระกัน)
- หนังสือรับรองจากธนาคาร (กรณีใช้สมุดเงินฝากเป็นประกัน)
- หลักฐานการยินยอมของคู่สมรส (กรณีผู้ประกันมีคู่สมรส)
วงเงินประกันตัวมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ จำนวนโทษจำคุก ตามความผิดอาญาและข้อหา
การกำหนดจำนวนเงินประกันตัว
การกำหนดจำนวนเงินประกันตัวในสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาลำดับที่ ข้อหา หรือ ฐานความผิด เงินสด (ขั้นต่ำ) ราคาประเมินหลักทรัพย์ (ขั้นต่ำ) ประมวลกฎหมายอาญา
- ปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ 60,000 – 130,000
- แจ้งความเท็จ 40,000 – 70,000
- ฟ้องเท็จ 60,000 – 80,000
- เบิกความเท็จ 40,000 – 70,000
- หมิ่นประมาท 30,000 – 60,000
- เพลิงไหม้ 170,000 – 250,000
- ทำลายเอกสาร 30,000 – 60,000
- ปลอมเอกสารธรรมดาหรือเอกสารสิทธิ 70,000 – 150,000
- ปลอมเอกสารราชการ 80,000 – 150,000
- ปลอมเอกสารสิทธิซึ่งเป็นเอกสารราชการ 90,000 – 180,000
- โทรมหญิง 200,000 – 400,000
- อนาจาร 50,000 – 120,000
- ธุระจัดหาหญิง 200,000 – 400,000
- พรากผู้เยาว์ 80,000 – 160,000
- พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร 100,000 – 200,000
- ฆ่าผู้อื่น 200,000 – 400,000
- ฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา 100,000 – 200,000
- พยายามฆ่าผู้อื่น 80,000 – 150,000
- ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย (ขับรถส่วนบุคคล) 80,000 – 150,000
- ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย (ขับรถบรรทุก , รับจ้าง) 120,000 – 200,000
- ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย (ตายหมู่ ตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป) 150,000 – 300,000
- ทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัส 80,000 – 160,000
- ทำร้ายร่างกาย 10,000 – 50,000
- ลักทรัพย์ 50,000 – 100,000
- วิ่งราวทรัพย์ หรือลักทรัพย์ตั้งแต่ 2 อนุมาตราขึ้นไป 80,000 – 160,000
- ลักทรัพย์เป็นแก๊งมิจฉาชีพ 100,000 – 200,000
- ชิงทรัพย์ 100,000 – 200,000
- ชิงทรัพย์มีอาวุธปืนและใช้ยานพาหนะ 150,000 – 300,000
- ชิงทรัพย์ทำร้ายเจ้าทรัพย์บาดเจ็บ 150,000 – 300,000
- ชิงทรัพย์ฆ่าเจ้าทรัพย์ 200,000 – 400,000
- ปล้นทรัพย์ 200,000 – 300,000
- ปล้นทรัพย์มีอาวุธปืนและใช้ยานพาหนะ 250,000 – 350,000
- ปล้นทรัพย์ทำร้ายเจ้าทรัพย์บาดเจ็บ 260,000 – 400,000
- ปล้นทรัพย์ฆ่าเจ้าทรัพย์ 300,000 – 500,000
- ฉ้อโกง 30,000 – 70,000
- ฉ้อโกงประชาชน 150,000 – 300,000
- ฉ้อโกงประชาชน หลอกลวงลักษณะจัดหางาน 180,000 – 400,000
- ฉ้อโกงมีพฤติการณ์เป็นแก๊งตกทอง แก๊งไพ่สามใบ 120,000 – 200,000
- โกงเจ้าหนี้ 40,000 – 80,000
- รีดเอาทรัพย์ 80,000 – 120,000
- กรรโชกทรัพย์ 100,000 – 200,000
- ยักยอกทรัพย์ 30,000 – 60,000
- รับของโจร 50,000 – 100,000
- รับของโจรมีพฤติการณ์เป็นคนร้ายลักทรัพย์ ชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ 100,000 – 200,000
- ทำให้เสียทรัพย์ 30,000 – 70,000
- บุกรุก 30,000 – 70,000
- บุกรุกเพื่อทำความผิดเกี่ยวกับเพศ ชีวิต ร่างกาย 100,000 – 200,000
- พยานขัดหมายศาล 50,000 – 100,000
- พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค 1 ใน 3 ของจำนวนเงินตามเช็ค แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลที่รับผิดชอบคดี : พร้อมกับเอกสารที่เตรียมไว้
ศาลพิจารณาคำร้องและหลักฐานที่ยื่นมา : โดยจะพิจารณาถึงความหนักเบาของความผิด ประวัติอาชญากรรมของผู้ต้องหาหรือจำเลย ความเป็นไปได้ที่จะหลบหนี และความเหมาะสมของหลักประกัน
การคืนหลักประกัน : หากผู้ต้องหาหรือจำเลยมาตามนัดของศาลครบทุกครั้ง และคดีสิ้นสุดลง หลักประกันจะถูกคืนให้ผู้ประกัน
ผลของการผิดสัญญา : ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะถูกจับกุมโดยศาลจะมีคำสั่งให้จับกุมตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยกลับมาควบคุมตัวในเรือนจำ รวมทั้งหลักประกันจะถูกยึดหากมีการวางหลักประกันไว้.
ข้อควรระวังในการขอปล่อยตัวชั่วคราว
การปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาล : ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดอย่างเคร่งครัด เช่น การมาแสดงตัวตามนัด หรือการวางหลักประกัน
การเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน : การเตรียมเอกสารที่จำเป็นให้ครบถ้วนและถูกต้องจะช่วยให้กระบวนการขอปล่อยตัวชั่วคราวเป็นไปอย่างราบรื่น
ค่าบริการในการว่าความในศาลชั้นต้น
1. คดีอาญา
ค่าจ้างทนายอาญา กรณีเป็นโจทก์และยื่นฟ้องตรงต่อศาล
1.ค่าทนายอาญา 60,000 บาท ขึ้นไป
ค่าจ้างทนายอาญา กรณีเป็นโจทก์และแจ้งความดำเนินคดี ต่อพนักงานสอบสวน
1. ค่าทนายอาญา 60,000 บาทขึ้นไป
2. ทนายดูแล เฉพาะในชั้นพนักงานสอบสวน 25,000 บาทขึ้นไป
ค่าทนายอาญากรณีเป็นจำเลย
1. ค่าดำเนินดูแลคดี 50,000 บาทขึ้นไป
2. ทนายประกันตัวในชั้นพนักงานสอบสวน 25,000 บาทขึ้นไป
ทนายชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา
1.ค่าทนาย ในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา 50,000 บาทขึ้นไป
1. คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
คดีไม่มีข้อพิพาทหรือคดีไม่มีทุนทรัพย์
เป็นคดีที่มีการร้องขอฝ่ายเดียว เพื่อใช้สิทธิทางกฎหมาย เช่น คดีร้องจัดการมรดก, คดีร้องขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ หรือบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น ค่าว่าความคิดขั้นต่ำคดีละ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)
หมายเหตุ กรณีมีการคัดค้านหรือมีการต่อสู้คดี ก็จะมีการตกลงกันอีกครั้ง
คดีมีข้อพิพาท หรือคดีมีทุนทรัพย์
กรณีที่ท่านเป็นโจทก์หรือโจทก์ร่วม ท่านต้องชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีดังต่อไปนี้
คดีทุนทรัพย์ (บาท) | ค่าทนายความ (บาท) | ค่าวิชาชีพ(บาท) | ค่าบังคับคดี (ร้อยละ) |
ไม่เกิน 50,000 | ขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณี | ขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณี | 30 |
50,001 ถึง 100,000 | 15,000 | 10,000 | 30 |
100,001 ถึง 300,000 | 30,000 | 12,000 | 30 |
300,001 ถึง 500,000 | 35,000 | 14,000 | 30 |
500,001 ถึง 800,000 | 40,000 | 15,000 | 20 |
800,001 ถึง 1,000,000 | 45,000 | 17,000 | 20 |
1,000,001 ถึง 2,000,000 | 50,000 | 18,000 | 10 |
2,000,001 ถึง 3,000,000 | 60,000 | 19,000 | 10 |
3,000,001 บาทขึ้นไป | ขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณี | ขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณี | 10 |
เงื่อนไขการดำเนินงาน
1. ท่านต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียม(ค่าขึ้นศาล)และค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการนำส่งคำ คู่ความเองเป็นค่าธรรมเนียมตามปกติของศาล
(ตามใบเสร็จรับเงิน) ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
คดีมโนสาเร่ ทุนทรัพย์ที่ฟ้อง ไม่เกิน 300,000 บาท เสียค่าขึ้นศาลไม่เกิน 1,000 บาท
คดีมีแพ่งสามัญ ทุน ทรัพย์ที่ฟ้อง ไม่เกิน 50 ล้านบาท เสียค่าขึ้นศาล ร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท
ขึ้นไป เสียค่าขึ้นศาล ร้อยละ 0.1 บาท
ค่านำหมาย,ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ (ถ้ามี),ค่าพาหนะของพยานหมาย (ถ้ามี)เป็นต้น
2. ท่านต้องชำระค่าทนายความตามทุนทรัพย์ก่อนที่จะทำคำฟ้องยื่นต่อศาล
3. ค่าบังคับคดี จะเรียกเก็บจากท่านต่อเมื่อมีการบังคับคดี หากไม่มีการบังคับคดีท่านไม่ต้องจ่ายค่าบังคับคดี
4. ค่าว่าความ (อัตราร้อยละ) คิดตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง (ตามฟ้อง) และ จะเรียกเก็บจากท่านต่อเมื่อ
ท่านได้รับเงินจากลูกหนี้หรือจำเลยแล้ว(ตามเกณฑ์เงินสดที่ท่านได้รับ)
5. กรณีทนายความไปศาลต่างจังหวัด บริษัทฯ จะเรียกเก็บอัตราค่าเดินทางไปศาลในแต่ละครั้ง ตามอัตราดังต่อไปนี้
ระยะทาง ไม่เกิน 300 กม. คิดค่าเดินทาง = 3,500 บาท
ระยะทาง 300 – 500 กม. คิดค่าเดินทาง = 4,500 บาท
ระยะทาง 500 กม. ขึ้นไป คิดค่าเดินทาง = 6,500 บาท
***สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร ท่านไม่ต้องชำระค่าเดินทางในส่วนนี้
หมายเหตุ
ค่าเดินทางดังกล่าวไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าที่พัก,ค่าตั๋วรถเดินทาง,ค่าน้ำมันรถยนต์,ค่าธรรมเนียมอื่นๆที่ทางราชการ หรือเอกชน
ออกให้ (ตามใบเสร็จรับเงิน)
6. คดีนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว จะตกลงกันตามความยากง่ายของการดำเนินคดี
7. การว่าจ้างมีการทำสัญญาว่าจ้างว่าความทุกครั้ง เพื่อให้ท่านเกิดความมั่นใจในการจ้างทนายความ
กรณีที่ท่านเป็นจำเลยหรือจำเลยร่วมในคดีแพ่ง
ในคดีที่มีการร้องสอดหรือร้องคัดค้านให้เป็นคดีมีข้อพิพาท คิดค่าว่าความ จำนวน 15,000 บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
คดีที่ท่านถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีแพ่ง
ก.) คดีที่มีข้อพิพาทจากมูลละเมิด คิดค่าว่าความขั้นต่ำ ตั้งแต่ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ขึ้นไป
ข.) คดีที่มีข้อพิพาทจากนิติกรรมสัญญา คิดค่าว่าความขั้นต่ำ ตั้งแต่ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ขึ้นไป
ต่างจังหวัด ท่านต้องชำระค่าเดินทาง ตามอัตราดังต่อไปนี้
ระยะทาง ไม่เกิน 300 กม. คิดค่าเดินทาง = 2,500 บาท
ระยะทาง 300 – 500 กม. คิดค่าเดินทาง = 3,000 บาท
ระยะทาง 500 กม. ขึ้นไป คิดค่าเดินทาง = 4,000 บาท
หมายเหตุ
กรณีพิจารณาคดีออนไลน์ไม่มีค่าพาหนะ
ค่าเดินทางดังกล่าวไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่ทางราชการหรือเอกชนออกให้ (ตามใบเสร็จรับเงิน)
หรือ ในราคาตกลงกัน แล้วแต่กรณี