ละเมิด

คดีละเมิด

ละเมิด คือ การกระทำใดๆ ของบุคคลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม เช่น การทำร้ายร่างกาย การขับรถชน การหมิ่นประมาท หรือการละเมิดสิทธิในทรัพย์สิน เป็นต้น

 

องค์ประกอบของการละเมิด

 การกระทำใด ๆ จะถือว่าเป็นการละเมิดนั้น ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลักดังนี้

  • การกระทำโดยผิดกฎหมาย : การกระทำนั้นต้องขัดต่อกฎหมาย หรือเป็นการฝ่าฝืนสิทธิของบุคคลอื่น
  • ความเสียหาย : การกระทำนั้นต้องก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายทางกาย ทางใจ หรือทางทรัพย์สิน
  • ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ : การกระทำนั้นต้องเป็นสาเหตุโดยตรงที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

ประเภทของการละเมิด

  • การละเมิดโดยการกระทำ (Torts by Act):

    • การกระทำที่เป็นการรุกรานสิทธิ์ของผู้อื่น เช่น การทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น หรือการใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น

    • ตัวอย่าง: การทำให้รถของผู้อื่นเสียหายโดยเจตนา

  • การละเมิดโดยการงดเว้น (Torts by Omission):

    • การไม่กระทำการใดที่ควรทำ และทำให้ผู้อื่นเสียหาย

    • ตัวอย่าง: ไม่ติดตั้งป้ายเตือนบนถนนที่มีอันตราย ทำให้ผู้อื่นเกิดอุบัติเหตุ

  • การละเมิดโดยประมาท (Negligence):

    • การกระทำที่ขาดความระมัดระวังและทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย

    • ตัวอย่าง: การขับรถโดยไม่ระวัง ทำให้เกิดอุบัติเหตุและผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ

ลักษณะของการกระทำและความเสียหายที่เกิดขึ้น 

  • ละเมิดต่อชีวิตและร่างกาย: เช่น การทำร้ายร่างกาย การฆ่าคนตาย
  • ละเมิดต่อเสรีภาพ: เช่น การกักขังหน่วงเหนี่ยว การหมิ่นประมาท
  • ละเมิดต่อทรัพย์สิน: เช่น การลักทรัพย์ การบุกรุก
  • ละเมิดต่อสิทธิส่วนบุคคล: เช่น การละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัว

ความรับผิดในการละเมิด

ผู้ที่กระทำละเมิดจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปแล้ว ผู้กระทำละเมิดจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย เพื่อนำไปใช้ในการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น

การป้องกันตัวจากการถูกกล่าวหาว่าละเมิด

หากคุณถูกกล่าวหาว่ากระทำละเมิด คุณสามารถป้องกันตัวได้โดยการ

  • พิสูจน์ว่าไม่ได้กระทำการนั้น: หากคุณไม่ได้เป็นผู้กระทำการนั้น คุณสามารถนำหลักฐานมาพิสูจน์ได้
  • พิสูจน์ว่าไม่ได้กระทำโดยเจตนาหรือประมาท: หากคุณกระทำการนั้นไปโดยบังเอิญหรือจำเป็น คุณสามารถนำหลักฐานมาพิสูจน์ได้
  • พิสูจน์ว่าผู้เสียหายยินยอม: หากผู้เสียหายยินยอมให้คุณกระทำการนั้น คุณจะไม่ต้องรับผิดชอบ
  • อ้างสิทธิในการป้องกันตัว: หากคุณกระทำการเพื่อป้องกันตัวจากการถูกทำร้าย คุณอาจจะไม่ต้องรับผิดชอบ

สรุป

การละเมิดเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปในสังคม การทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายละเมิด จะช่วยให้เราสามารถป้องกันตนเองจากการถูกละเมิด และสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ที่กระทำละเมิดได้อย่างถูกต้อง

หมายเหตุ: ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลทั่วไป ไม่ถือเป็นคำแนะนำทางกฎหมาย หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคดีละเมิด ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย

ขั้นตอนการดำเนินคดี
กระบวนพิจารณาคดีในศาล จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก จึงต้องมีการกำหนดวิธีปฏิบัติตามวันนัดพิจารณาคดีแต่ละนัดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม

ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่ง
1. ยื่นคำฟ้อง คำให้การ คำร้อง
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่กล่าวในฟ้องมีพยานหลักฐานให้ศาลเชื่อได้ โจทก์เรียกร้องอะไรจากจำเลย
2. นัดพร้อม
เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายมาศาลและต้องการที่จะให้มีการตกลงเจรจา ไกล่เกลี่ย กันก่อน ศาลจะสอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายว่าต้องการที่จะตกลงกันก่อนหรือไม่ มีพยานกี่ปาก แนวทางการสืบพยาน
3. นัดไกล่เกลี่ย
เมื่อเข้าห้องไกล่เกลี่ย เมื่อตกลงกันได้ก็จะมีการถอนฟ้องหรือทำสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่หากตกลงกันไม่ได้ สำนวนคดีก็จะถูกส่งกลับมาที่ห้องพิจารณาเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
4. นัดชี้สองสถาน
คือการกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีและหน้าที่นำสืบ
5. นัดสืบพยาน
สืบพยานโจทก์ พยานจำเลย
6. นัดฟังคำพิพากษา ศาลจะอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง ศาลจะวินิจฉัยพยานหลักฐานทั้งปวงในคดี ถ้าศาลเห็นว่าพยานหลักฐานฝ่ายไหนมีเหตุผลน่าเชื่อกว่าก็ตัดสินให้ฝ่ายนั้นชนะ

ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา

1. ยื่นคำฟ้อง

โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการจะต้องตรวจดูว่ามีพยานหลักฐานสนับสนุนว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่ และการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อกฎหมายหรือไม่

2. นัดไต่สวนมูลฟ้อง เฉพาะในคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ได้มีการสอบสวนมาแล้ว ปกติจะไม่มีการไต่สวนมูลฟ้อง พนักงานอัยการเพียงแต่นำตัวจำเลยมาศาลเพื่อยื่นฟ้อง

ส่วนคดีอาญาที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์เองก็ต้องเริ่มด้วยการไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ต้องนำพยานมาสืบให้ศาลเห็นว่าคดีของตนมีมูลที่ศาลจะรับฟ้องไว้พิจารณา โดยจำเลยจะมาฟังการไต่สวนมูลฟ้องหรือไม่ก็ได้ ถ้าศาลเห็นว่าคดีมีมูลจะสั่งรับฟ้อง และศาลจะออกหมายเรียกให้จำเลยมาสู้คดี

3. นัดสอบคำให้การจำเลย

เมื่อจำเลยมาศาลแล้วศาลจะอ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่าจะให้การอย่างไร ถ้าจำเลยปฏิเสธก็จะมีการนัดสืบพยานต่อไป

4. นัดตรวจพยานหลักฐาน

กรณีมีพยานหลักฐานมาก ศาลอาจเห็นว่าหรือคู่ความร้องขอ

5. นัดสืบพยาน

โจทก์มีหน้าที่นำพยานหลักฐานเข้าสืบก่อน ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด และจำเลยนำพยานหลักฐานสืบแก้ เมื่อสืบพยานเสร็จ ศาลจะนัดฟังคำพิพากษาต่อไป

6. นัดฟังคำพิพากษา

ในการตัดสินคดีศาลจะวินิจฉัยพยานหลักฐานทั้งปวงในคดี พยานหลักฐานของโจทก์ว่าสามารถฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดจริง โดยปราศจากข้อสงสัยอันสมควร ยกฟ้อง อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง

ค่าบริการในการว่าความในศาลชั้นต้น

1. คดีแพ่ง

คดีไม่มีข้อพิพาทหรือคดีไม่มีทุนทรัพย์

เป็นคดีที่มีการร้องขอฝ่ายเดียว เพื่อใช้สิทธิทางกฎหมาย เช่น คดีร้องจัดการมรดก, คดีร้องขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ หรือบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น ค่าว่าความคิดขั้นต่ำคดีละ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)

หมายเหตุ กรณีมีการคัดค้านหรือมีการต่อสู้คดี ก็จะมีการตกลงกันอีกครั้ง

คดีมีข้อพิพาท หรือคดีมีทุนทรัพย์

กรณีที่ท่านเป็นโจทก์หรือโจทก์ร่วม ท่านต้องชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีดังต่อไปนี้

คดีทุนทรัพย์ (บาท) ค่าทนายความ (บาท) ค่าวิชาชีพ(บาท) ค่าบังคับคดี   (ร้อยละ)
ไม่เกิน 50,000 ขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณี ขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณี 30
50,001 ถึง 100,000 15,000 10,000 30
100,001 ถึง 300,000 30,000 12,000 30
300,001 ถึง 500,000 35,000 14,000 30
500,001 ถึง 800,000 40,000 15,000 20
800,001 ถึง 1,000,000 45,000 17,000 20
1,000,001 ถึง 2,000,000 50,000 18,000 10

2,000,001 ถึง 3,000,000

60,000 19,000 10
3,000,001 บาทขึ้นไป ขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณี ขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณี 10

เงื่อนไขการดำเนินงาน
1. ท่านต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียม(ค่าขึ้นศาล)และค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการนำส่งคำ คู่ความเองเป็นค่าธรรมเนียมตามปกติของศาล

(ตามใบเสร็จรับเงิน) ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

คดีมโนสาเร่ ทุนทรัพย์ที่ฟ้อง ไม่เกิน 300,000 บาท เสียค่าขึ้นศาลไม่เกิน 1,000 บาท
คดีมีแพ่งสามัญ ทุน ทรัพย์ที่ฟ้อง ไม่เกิน 50 ล้านบาท เสียค่าขึ้นศาล ร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท
ขึ้นไป เสียค่าขึ้นศาล ร้อยละ 0.1 บาท
ค่านำหมาย,ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ (ถ้ามี),ค่าพาหนะของพยานหมาย (ถ้ามี)เป็นต้น
2. ท่านต้องชำระค่าทนายความตามทุนทรัพย์ก่อนที่จะทำคำฟ้องยื่นต่อศาล
3. ค่าบังคับคดี บริษัทฯ จะเรียกเก็บจากท่านต่อเมื่อมีการบังคับคดี หากไม่มีการบังคับคดีท่านไม่ต้องจ่ายค่าบังคับคดี
4. ค่าว่าความ (อัตราร้อยละ) ทางบริษัทฯ คิดตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง (ตามฟ้อง) และบริษัทฯ จะเรียกเก็บจากท่านต่อเมื่อ

ท่านได้รับเงินจากลูกหนี้หรือจำเลยแล้ว(ตามเกณฑ์เงินสดที่ท่านได้รับ)
5. กรณีทนายความไปศาลต่างจังหวัด บริษัทฯ จะเรียกเก็บอัตราค่าเดินทางไปศาลในแต่ละครั้ง ตามอัตราดังต่อไปนี้

ระยะทาง ไม่เกิน 300 กม. คิดค่าเดินทาง = 3,500 บาท
ระยะทาง 300 – 500 กม. คิดค่าเดินทาง = 4,500 บาท
ระยะทาง 500 กม. ขึ้นไป คิดค่าเดินทาง = 6,500 บาท
***สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร ท่านไม่ต้องชำระค่าเดินทางในส่วนนี้
หมายเหตุ

ค่าเดินทางดังกล่าวไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าที่พัก,ค่าตั๋วรถเดินทาง,ค่าน้ำมันรถยนต์,ค่าธรรมเนียมอื่นๆที่ทางราชการ หรือเอกชน

ออกให้ (ตามใบเสร็จรับเงิน)
6. คดีนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว จะตกลงกันตามความยากง่ายของการดำเนินคดี
7. การว่าจ้างมีการทำสัญญาว่าจ้างว่าความทุกครั้ง เพื่อให้ท่านเกิดความมั่นใจในการจ้างทนายความ

กรณีที่ท่านเป็นจำเลยหรือจำเลยร่วมในคดีแพ่ง
ในคดีที่มีการร้องสอดหรือร้องคัดค้านให้เป็นคดีมีข้อพิพาท คิดค่าว่าความ จำนวน 15,000 บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

คดีที่ท่านถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีแพ่ง
ก.) คดีที่มีข้อพิพาทจากมูลละเมิด คิดค่าว่าความขั้นต่ำ ตั้งแต่ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ขึ้นไป
ข.) คดีที่มีข้อพิพาทจากนิติกรรมสัญญา คิดค่าว่าความขั้นต่ำ ตั้งแต่ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ขึ้นไป

ต่างจังหวัด ท่านต้องชำระค่าเดินทาง ตามอัตราดังต่อไปนี้

ระยะทาง ไม่เกิน 300 กม. คิดค่าเดินทาง = 2,500 บาท
ระยะทาง 300 – 500 กม. คิดค่าเดินทาง = 3,000 บาท
ระยะทาง 500 กม. ขึ้นไป คิดค่าเดินทาง = 4,000 บาท

หมายเหตุ

กรณีพิจารณาคดีออนไลน์ไม่มีค่าพาหนะ

ค่าเดินทางดังกล่าวไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่ทางราชการหรือเอกชนออกให้ (ตามใบเสร็จรับเงิน)

หรือ ในราคาตกลงกัน แล้วแต่กรณี

Scroll to Top