ดูหมิ่นซึ่งหน้า กับ หมิ่นประมาท ต่างกันอย่างไร ?

ดูหมิ่นซึ่งหน้าและหมิ่นประมาท ต่างกันอย่างไร ?

 
หมิ่นประมาท คือ การใส่ความผู้อื่นหรือกล่าวให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง
ดูหมิ่นซึ่งหน้า หมายถึง การกระทำที่เป็นการทำให้ผู้อื่นต้องอับอายหรือได้รับความอัปยศต่อหน้าบุคคลอื่น โดยการใช้คำพูดหรือการกระทำที่มีเจตนาร้าย
 

การแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่การใช้เสรีภาพดังกล่าว จะต้องไม่ก้าวล่วงสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นโดยมิชอบ ดังนั้น หากใช้เสรีภาพที่เกินขอบเขตโดยการแสดงความคิดเห็นที่แสดงออกถึงการดูถูกเหยียดหยามทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ผู้กระทำจะมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณาตามมาตรา 393 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และหากเป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามจนน่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้กระทำจะมีความความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญา รายละเอียดดังนี้

  “ความผิดฐานหมิ่นประมาท”

หมิ่นประมาท หมายถึง การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติของผู้อื่น โดยการกล่าวหาในลักษณะที่เป็นเท็จ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นสองประเภทหลัก ๆ:

  1. หมิ่นประมาทโดยการพูด (Slander): การกล่าวหาผู้อื่นในลักษณะที่เป็นเท็จโดยการพูด

  2. หมิ่นประมาทโดยการเขียน (Libel): การกล่าวหาผู้อื่นในลักษณะที่เป็นเท็จโดยการเขียนหรือการเผยแพร่ข้อความ

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 กำหนดว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิด ฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

องค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาท ประกอบด้วย

1  ผู้ใด เป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

2  ใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม การใส่ความ คือ การทำให้ปรากฏข้อเท็จจริงโดยอาจเป็นความจริงหรือความเท็จก็ได้ถ้าหากพูดแล้วทำให้ผู้อื่นเสียหายก็เป็นความผิด แม้การเล่าเรื่องที่ได้ยินมาให้กับบุคคลอื่นฟังก็อยู่ในความหมายของคำว่าใส่ความด้วยเช่นกัน ดังนั้น การใส่ความจึงไม่จำกัดวิธีอาจใช้วิธีการใด ๆ ก็ได้ เช่น การใช้คำพูด ภาพวาด การแสดงกิริยาอาการอย่างหนึ่งอย่างใด ใช้ภาษาใบ้ หรือใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ รวมถึงการใช้รูปภาพ เช่น การแอบถ่ายภาพคนที่กำลังร่วมประเวณีแล้วนำภาพเหล่านั้นไปให้ผู้อื่นดูถือได้ว่าเป็นการใส่ความและน่าจะทำให้เสียชื่อเสียงซึ่งเป็นการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ข้อเท็จจริงที่จะเป็นหมิ่นประมาทได้นั้น ต้องไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นเพียงคำหยาบหรือข้อเท็จจริงที่เป็นไปไม่ได้ เช่น นาย ก กล่าวว่า “โจทก์เป็นผีปอบเป็นชาติหมา” ความรู้สึกนึกคิดของคนธรรมดาไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น จึงไม่ทำให้ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังแต่อย่างใด เป็นเพียงคำหยาบคายเท่านั้น (จะต้องเอาความรู้สึกนึกคิดของคนธรรมดามาเปรียบเทียบ)

นอกจากนี้ การใส่ความจะต้องเป็นการใส่ความต่อบุคคลที่สามด้วย ดังนั้น บุคคลที่สามจึงมีความสำคัญ ความผิดจะสำเร็จต่อเมื่อบุคคลที่สามได้รับทราบข้อความและเข้าใจข้อความหมิ่นประมาทนั้น ถ้าไม่มีบุคคลที่สามจะไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ถ้ามีบุคคลที่สามแต่บุคคลที่สามไม่เข้าใจข้อความ เช่น เป็นคนหูหนวก หรือเป็นชาวต่างชาติไม่เข้าใจภาษาไทย จะเป็นความผิดฐานพยายามหมิ่นประมาท

3  โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ในการพิจารณาว่าน่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังหรือไม่ พิจารณาตามความรู้ความเข้าใจของวิญญูชนทั่วไป ถ้าวิญญูชนทั่วไปเห็นว่า “น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง” และแม้ผู้กระทำจะไม่รู้ว่าน่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ก็ถือว่ามีความผิดแล้ว ดังนั้น เพียงแค่ “น่าจะ” ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ยังไม่มีความเสียหาย เกิดขึ้นจริงก็ถือว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว

4  ผู้กระทำต้องมีเจตนา กล่าวคือ เจตนาที่จะใส่ความ หรือเจตนาแสดงข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งพาดพิงไปถึงผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม

  ตัวอย่างคำพิพากษาความผิดฐานหมิ่นประมาท

  พูดใส่ความให้ถูกมองว่าเป็นคนทุจริต

  นายดำพูดถึง น.ส.ขาว ซึ่งเป็นหญิงทำงานอยู่ที่สำนักงานที่ดินอำเภอว่า “กระหรี่ที่ดิน” คำว่ากระหรี่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้ว่า น.ส.ขาว เป็นหญิงโสเภณีหรือหญิงค้าประเวณี แม้จะไม่ได้กล่าวรายละเอียดว่าค้าประเวณีกับใคร ประพฤติสำส่อนทางเพศกับใคร

  นางเอ ด่านางบี ว่าเป็นเมียน้อยต่อหน้าเพื่อนของนางหญิงบี

  นาย ก. นำความเท็จไปร้องเรียนต่อปลัดกระทรวงยุติธรรมว่านาย ข. ซึ่งเป็นผู้พิพากษาไปร่วมกินเลี้ยงกับนาย ค. ผู้ซึ่งนาย ข. พิพากษาให้ชนะคดีที่ร้านข้างศาลในตอนเย็นวันตัดสิน และนาย ก. ได้ไปยืนยันให้ถ้อยคำต่ออธิบดีผู้พิพากษาซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของนาย ข. เพื่อให้ดำเนินการทางวินัยแก่นาย ข. ข้อความที่นาย ก. แจ้งมีความหมายไปในทางหาว่านาย ข. ประพฤติตนไม่สมควรเป็นไปในทำนองพิพากษาคดีโดยไม่สุจริต

นอกจากนี้หากมีการโพสต์ข้อความผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทุกช่องทาง หรือประกาศ หรือโฆษณา อันมีลักษณะทำให้ผู้อื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้เป็นจำนวนมาก และมีโอกาสที่ข้อความดังกล่าวนั้น จะถูกเผยแพร่ออกไปด้วยความรวดเร็ว จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามมาตรา 328 ซึ่งผู้กระทำจะได้รับโทษหนักขึ้นกว่าหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 การหมิ่นประมาทโดยการโฆษณานั้น มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกทั้งอาจมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติมอีกด้วย

ทั้งนี้ หากเป็นกรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตได้แก่ (1) การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใด เพื่อความถูกต้องหรือเพื่อป้องกันชื่อเสียงหรือประโยชน์ของตนไม่ให้ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังจากการกระทำของผู้อื่น หรือ (2) กระทำในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติงานตามหน้าที่ เช่น พนักงานสอบสวนสรุปสำนวนเสนอพนักงานอัยการซึ่งข้อความในสำนวนการสอบสวนมีข้อความหมิ่นประมาท หรือ (3) พูดติชมอันเป็นวิสัยของประชาชนทั่วไปที่สามารถกระทำได้ เช่น เรื่องกิจการบ้านเมือง กิจการสาธารณะหรือพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง หรือ (4) การแสดงความคิดเห็นที่เป็นการแจ้งข่าวเกี่ยวกับการดำเนินการอันเปิดเผยในศาล เช่น การประกาศรายชื่อบุคคลล้มละลาย หรือการแสดงความคิดเห็น ในการประชุมที่เปิดเผยไม่ใช่การประชุมลับ เช่น การอภิปรายในสภา เป็นต้น ผู้กระทำจะไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามมาตรา 329

อย่างไรก็ตาม หากข้อเท็จจริงไม่มีบุคคลที่สามอยู่ด้วยอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามมาตรา 393 ซึ่งการดูหมิ่นซึ่งหน้าเป็นความผิดลหุโทษ ความผิดลหุโทษ คือ ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มีโทษเบาหรือโทษที่ไม่ร้ายแรง คือ ความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  “ความผิดฐานดูหมิ่น”

ดูหมิ่นซึ่งหน้าหมายถึงการกระทำที่เป็นการทำให้ผู้อื่นต้องอับอายหรือได้รับความอัปยศต่อหน้าบุคคลอื่น โดยการใช้คำพูดหรือการกระทำที่มีเจตนาร้าย

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 กำหนดว่า “ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณาต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ดูหมิ่น หมายถึง การดูถูก เหยียดหยาม ทำให้อับอาย ทำให้เสียหาย เป็นที่เกลียดชัง สบประมาท หรือด่า ส่วนกรณีคำหยาบคายไม่สุภาพ คำแดกดัน คำสาปแช่ง คำขู่อาฆาต คำปรับทุกข์ คำโต้เถียง คำกล่าวติชม ตามปกติวิสัยไม่เป็นการดูหมิ่น และการดูหมิ่นนั้นอาจเป็นการกระทำด้วยวาจา กริยาท่าทาง หรือโฆษณาก็ได้ โดยการกระทำที่จะเป็นความผิดฐานดูหมิ่นตามมาตรา 393 นั้น ต้องเป็นการดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือดูหมิ่นผู้อื่นด้วยการโฆษณา ดังนี้

  “การดูหมิ่นซึ่งหน้า” ต้องมีลักษณะของการเจตนาดูถูก เหยียดหยาม ทำให้อับอาย เสียหาย เป็นที่เกลียดชัง สบประมาท หรือด่า อันเป็นการประทุษร้ายต่อความรู้สึกของผู้อื่น อาจกระทำด้วยวาจาหรือกิริยาท่าทางก็ได้ โดยจะต้องมีการกล่าวหรือแสดงกิริยาท่าทางที่เป็นการดูหมิ่นให้ผู้อื่นทราบในขณะที่มีการกระทำในทันทีทันใด เช่น ด่าผู้อื่นว่า “ไอ้ทนายเฮงซวย” “ตอแหล” “ผู้หญิงชั่ว” “ไอ้หน้าโง่” “อีเหี้ย อีสัตว์ อีควาย มึงคิดว่าเมียกูกินเงินไปหรือไง” “อีดอก”

  “การดูหมิ่นด้วยการโฆษณา” ต้องมีลักษณะของการแพร่หลายหรือเผยแพร่ออกไปยังสาธารณชนหรือการป่าวประกาศ อาจกระทำโดยเอกสารภาพวาด ภาพยนตร์ หรือการกระจายเสียง การดูหมิ่น ด้วยการโฆษณานี้แม้เป็นการกล่าวลับหลังผู้เสียหายก็เป็นความผิดแล้ว เช่น การลงโฆษณาคำดูหมิ่นลงในหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าความผิดฐานหมิ่นประมาทและความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นเป็นกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของบุคคลไม่ให้มีการกระทำที่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาการทางเทคโนโลยีซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงอาจทำให้เกิดการละเมิดสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลได้ง่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตามหากทุกคนตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของตนและของผู้อื่น บทบัญญัติแห่งกฎหมายตามกรณีข้างต้นย่อมไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด

 

 

ขั้นตอนการดำเนินคดี 

การดำเนินคดี ในประเทศไทยมีขั้นตอนที่ชัดเจนและเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการอย่างรอบคอบเพื่อให้การพิจารณาคดีมีความยุติธรรมและโปร่งใส

ขั้นตอนการดำเนินคดี 

  1. การแจ้งความ:

    • เมื่อเกิดการบุกรุก เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้เสียหายสามารถแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุด

    • ผู้แจ้งความต้องระบุรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น วันเวลา สถานที่ และลักษณะของการกระทำผิด

  2. การรับแจ้งความ:

    • เจ้าหน้าที่ตำรวจจะรับแจ้งความและบันทึกข้อมูลในบันทึกประจำวัน

    • เจ้าหน้าที่จะสอบปากคำผู้แจ้งความเพื่อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม

  3. การสืบสวนสอบสวน:

    • เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเริ่มต้นการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน

    • การสืบสวนอาจรวมถึงการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ การสอบปากคำพยาน และการเก็บรวบรวมหลักฐานทางกายภาพ

  4. การจับกุมผู้ต้องสงสัย:

    • หากพบว่ามีมูลความผิด เจ้าหน้าที่ตำรวจจะออกหมายจับและทำการจับกุมผู้ต้องสงสัย

    • ผู้ต้องสงสัยจะถูกนำตัวสอบสวนเพิ่มเติมและฝากขังในสถานที่ที่เจ้าหน้าที่กำหนด

  5. การส่งสำนวนการสืบสวนให้พนักงานอัยการ:

    • เมื่อการสืบสวนเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจะจัดทำสำนวนการสืบสวนที่รวมถึงพยานหลักฐานทั้งหมดและรายงานการสอบสวน

    • สำนวนการสืบสวนจะถูกส่งไปยังพนักงานอัยการเพื่อตรวจสอบและพิจารณาการฟ้องร้อง

  6. การพิจารณาคดีในศาล:

    • พนักงานอัยการจะนำคดีเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล

    • ศาลจะพิจารณาหลักฐานและพยานที่เกี่ยวข้อง และตัดสินว่าผู้ต้องหามีความผิดหรือไม่

  7. การตัดสินและการลงโทษ:

    • หากศาลพิจารณาว่าผู้ต้องหามีความผิด ศาลจะตัดสินและกำหนดโทษตามกฎหมาย

    • โทษสำหรับการบุกรุกอาจรวมถึงการจำคุก การปรับ หรือการชดเชยความเสียหาย

  8. การยื่นอุทธรณ์:

    • หากฝ่ายใดไม่พอใจกับคำตัดสินของศาล สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ได้

    • หากยังไม่พอใจกับคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ สามารถยื่นฎีกาต่อศาลฎีกาได้

สิทธิของผู้ต้องสงสัย:

  • ผู้ต้องสงสัยมีสิทธิ์ที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม

  • ผู้ต้องสงสัยมีสิทธิ์ที่จะมีทนายความในการป้องกันตนเองและสามารถนำเสนอพยานหลักฐานเพื่อป้องกันตนเองได้

การต่อสู้คดีในชั้นศาล

การต่อสู้คดีบเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่จำเป็นต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในกฎหมายและหลักฐานอย่างละเอียด ขั้นตอนโดยทั่วไปมีดังนี้

1. การได้รับแจ้งข้อกล่าวหา:

  • หมายเรียก: จำเลยจะได้รับหมายเรียกจากศาลให้ไปฟังคำสั่งหรือเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดี
  • อ่านคำฟ้อง: ศาลจะอ่านคำฟ้องที่โจทก์ยื่น ซึ่งจะระบุข้อเท็จจริงที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิด

2. การให้การเบื้องต้น:

  • ปฏิเสธข้อกล่าวหา: จำเลยมีสิทธิที่จะปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดหรือบางส่วน
  • ยื่นคำให้การ: จำเลยสามารถยื่นคำให้การเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ตนไม่กระทำความผิด

    3. การสืบพยาน:

    • สืบพยานโจทก์: โจทก์จะนำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำความผิดจริง
    • สืบพยานจำเลย: จำเลยจะนำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์และพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน

      . การแถลงปิดคดี:

      • ทนายความทั้งสองฝ่าย: ทนายความของทั้งสองฝ่ายจะทำการแถลงปิดคดีโดยสรุปพยานหลักฐานและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

      5. คำพิพากษา:

      • ศาลพิจารณา: ศาลจะพิจารณาพยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายนำเสนอมา
      • ออกคำพิพากษา: ศาลจะออกคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่มีความผิด และมีโทษอย่างไร

      ในการต่อสู้คดี

      • รวบรวมพยานหลักฐาน: จำเลยควรเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทุกอย่างที่สามารถนำมาใช้ในการต่อสู้คดี เช่น พยานบุคคลเอกสาร ภาพถ่าย วิดีโอ ฯลฯ
      • ปรึกษาทนายความ: การปรึกษาทนายความที่มีความเชี่ยวชาญด้านคดีอาญาจะช่วยให้จำเลยเข้าใจกระบวนการทางกฎหมายและวางแผนการต่อสู้คดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      • เตรียมพร้อมในการสืบพยาน: จำเลยควรเตรียมตัวให้พร้อมในการตอบคำถามของทนายความฝ่ายโจทก์และศาล
      • ยื่นอุทธรณ์: หากไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์
 
สำหรับแนวทางการต่อสู้คดี มีดังนี้

1.ไม่ใช่ผู้เสียหาย 2.ไม่ได้ระบุชื่อ 3.ไม่ใช่การใส่ความ 4.ถ้อยคำไม่ได้ทำให้เสียหาย 5.ไม่มีเจตนา

6.คดีขาดอายุความแล้ว /ตกลงยอมความกันแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นมาตรา 326 หรือ 393 อายุความ 3 เดือนเพราะเป็นคดีความผิดยอมความได้

ดังนั้นอายุความ 3 เดือนนับแต่วันที่กระทำผิดสำเร็จหากเกินกว่า 3 เดือนแล้วไปฟ้องคดีก็ขาดอายุความ ฎ.2269/2538
7.สู้ประเด็นเรื่องมีการตกลงกันแล้ว
เช่นบุกรุกแล้วต่อมามีการทำข้อตกลงว่าไม่ติดใจเอาความกันทำบันทึกประจำวันหรือทำหลักฐานไว้เป็นหนังสือ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป 

ตัวอย่างคดีที่ศาลยกฟ้อง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2813/2559

การเปิดบ่อนที่มีเจ้าพนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย มิใช่เป็นเพียงข้อเท็จจริงที่ประชาชนโดยทั่วไปประสงค์จะทราบเท่านั้น เพราะเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า การพนันเป็นการมอมเมาประชาชนให้หลงในอบายมุข ก่อให้เกิดการกระทำความผิดอื่นตามมาเป็นลูกโซ่ มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หากนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลปราบปรามอาชญากรรมกลับมากระทำความผิดเสียเอง นอกจากจะนำมาซึ่งความเสื่อมศรัทธาต่อวงการราชการตำรวจแล้ว ยังมีผลกระทบต่อการปราบปรามอาชญากรรมอีกด้วย ที่จำเลยทั้งสองสัมภาษณ์ พล.ต.อ. ส. ประธานสอบข้อเท็จจริงกรณีบ่อนรัชดาซึ่งมีหน้าที่โดยตรง ก็เพื่อทำให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องปรากฏ ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีสาเหตุโกรธเคืองกับโจทก์มาก่อน เชื่อว่าจำเลยทั้งสองกระทำไปโดยสุจริต เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ แม้จะมีข้อความหมิ่นประมาท การกระทำนั้นย่อมไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 329 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11118/2558

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20106/2556

จำเลยเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด โจทก์เคยเป็นประธานทอดกฐิน โจทก์ จำเลย บุคคลที่เกี่ยวข้องกับวัดและกรรมการของวัดขัดแย้งกันเกี่ยวกับเรื่องการเงินของวัดแยกออกเป็นหลายฝ่าย และกล่าวหาอีกฝ่ายยักยอกเงินของวัดจนมีการฟ้องคดีต่อศาล โจทก์เขียนข้อความกล่าวหาจำเลยว่าเคยบวชพระและมีประวัติเป็นอลัชชียักยอกเงินของวัด ไม่มีความละอายต่อบาป และเขียนป้ายประกาศติดไว้ที่หน้าวัดห้ามจำเลยเข้าบริเวณวัดและจำเลยยักยอกเงินของวัด ซึ่งเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยเป็นคนโกง เป็นคนไม่ดี การที่จำเลยเขียนหนังสือ และแจกจ่ายหนังสือถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวัดเป็นทำนองตอบโต้โจทก์ เนื่องจากจำเลยเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด และได้รับผลกระทบทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง การแสดงข้อความของจำเลยเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมที่จะป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมตาม ป.อ. มาตรา 329 (1) จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13622/2555

สรุป
สรุปแล้วในประเด็นข้อต่อสู้ในคดี ให้เอาไปปรับใช้ตามข้อเท็จให้หมาะสมกับรูปคดี นอกจากนี้ในแต่ละคดีก็อาจจะมีประเด็นข้อต่อสู้อย่างอื่นที่สามารถหยิบยกมาได้แล้วแต่ประเด็นแล้วแต่รูปคดีอีก

ค่าบริการในการว่าความในศาลชั้นต้น

1. คดีอาญา

ค่าจ้างทนายอาญา กรณีเป็นโจทก์และยื่นฟ้องตรงต่อศาล
1.ค่าทนายอาญา 60,000 บาท ขึ้นไป

ค่าจ้างทนายอาญา กรณีเป็นโจทก์และแจ้งความดำเนินคดี ต่อพนักงานสอบสวน
1. ค่าทนายอาญา 60,000 บาทขึ้นไป
2. ทนายดูแล เฉพาะในชั้นพนักงานสอบสวน 25,000 บาทขึ้นไป

ค่าทนายอาญากรณีเป็นจำเลย
1. ค่าดำเนินดูแลคดี 50,000 บาทขึ้นไป
2. ทนายประกันตัวในชั้นพนักงานสอบสวน 25,000 บาทขึ้นไป

ทนายชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา
1.ค่าทนาย ในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา 50,000 บาทขึ้นไป

1. คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา

คดีไม่มีข้อพิพาทหรือคดีไม่มีทุนทรัพย์

เป็นคดีที่มีการร้องขอฝ่ายเดียว เพื่อใช้สิทธิทางกฎหมาย เช่น คดีร้องจัดการมรดก, คดีร้องขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ หรือบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น ค่าว่าความคิดขั้นต่ำคดีละ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)

หมายเหตุ กรณีมีการคัดค้านหรือมีการต่อสู้คดี ก็จะมีการตกลงกันอีกครั้ง

คดีมีข้อพิพาท หรือคดีมีทุนทรัพย์

กรณีที่ท่านเป็นโจทก์หรือโจทก์ร่วม ท่านต้องชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีดังต่อไปนี้

คดีทุนทรัพย์ (บาท)ค่าทนายความ (บาท)ค่าวิชาชีพ(บาท)ค่าบังคับคดี   (ร้อยละ)
ไม่เกิน 50,000ขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณีขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณี30
50,001 ถึง 100,00015,00010,00030
100,001 ถึง 300,00030,00012,00030
300,001 ถึง 500,00035,00014,00030
500,001 ถึง 800,00040,00015,00020
800,001 ถึง 1,000,00045,00017,00020
1,000,001 ถึง 2,000,00050,00018,00010

2,000,001 ถึง 3,000,000

60,00019,00010
3,000,001 บาทขึ้นไปขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณีขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณี10

เงื่อนไขการดำเนินงาน
1. ท่านต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียม(ค่าขึ้นศาล)และค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการนำส่งคำ คู่ความเองเป็นค่าธรรมเนียมตามปกติของศาล

(ตามใบเสร็จรับเงิน) ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

คดีมโนสาเร่ ทุนทรัพย์ที่ฟ้อง ไม่เกิน 300,000 บาท เสียค่าขึ้นศาลไม่เกิน 1,000 บาท
คดีมีแพ่งสามัญ ทุน ทรัพย์ที่ฟ้อง ไม่เกิน 50 ล้านบาท เสียค่าขึ้นศาล ร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท
ขึ้นไป เสียค่าขึ้นศาล ร้อยละ 0.1 บาท
ค่านำหมาย,ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ (ถ้ามี),ค่าพาหนะของพยานหมาย (ถ้ามี)เป็นต้น
2. ท่านต้องชำระค่าทนายความตามทุนทรัพย์ก่อนที่จะทำคำฟ้องยื่นต่อศาล
3. ค่าบังคับคดี  จะเรียกเก็บจากท่านต่อเมื่อมีการบังคับคดี หากไม่มีการบังคับคดีท่านไม่ต้องจ่ายค่าบังคับคดี
4. ค่าว่าความ (อัตราร้อยละ)  คิดตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง (ตามฟ้อง) และ จะเรียกเก็บจากท่านต่อเมื่อ

ท่านได้รับเงินจากลูกหนี้หรือจำเลยแล้ว(ตามเกณฑ์เงินสดที่ท่านได้รับ)
5. กรณีทนายความไปศาลต่างจังหวัด บริษัทฯ จะเรียกเก็บอัตราค่าเดินทางไปศาลในแต่ละครั้ง ตามอัตราดังต่อไปนี้

ระยะทาง ไม่เกิน 300 กม. คิดค่าเดินทาง = 3,500 บาท
ระยะทาง 300 – 500 กม. คิดค่าเดินทาง = 4,500 บาท
ระยะทาง 500 กม. ขึ้นไป คิดค่าเดินทาง = 6,500 บาท
***สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร ท่านไม่ต้องชำระค่าเดินทางในส่วนนี้
หมายเหตุ

ค่าเดินทางดังกล่าวไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าที่พัก,ค่าตั๋วรถเดินทาง,ค่าน้ำมันรถยนต์,ค่าธรรมเนียมอื่นๆที่ทางราชการ หรือเอกชน

ออกให้ (ตามใบเสร็จรับเงิน)
6. คดีนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว จะตกลงกันตามความยากง่ายของการดำเนินคดี
7. การว่าจ้างมีการทำสัญญาว่าจ้างว่าความทุกครั้ง เพื่อให้ท่านเกิดความมั่นใจในการจ้างทนายความ

กรณีที่ท่านเป็นจำเลยหรือจำเลยร่วมในคดีแพ่ง
ในคดีที่มีการร้องสอดหรือร้องคัดค้านให้เป็นคดีมีข้อพิพาท คิดค่าว่าความ จำนวน 15,000 บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

คดีที่ท่านถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีแพ่ง
ก.) คดีที่มีข้อพิพาทจากมูลละเมิด คิดค่าว่าความขั้นต่ำ ตั้งแต่ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ขึ้นไป
ข.) คดีที่มีข้อพิพาทจากนิติกรรมสัญญา คิดค่าว่าความขั้นต่ำ ตั้งแต่ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ขึ้นไป

ต่างจังหวัด ท่านต้องชำระค่าเดินทาง ตามอัตราดังต่อไปนี้

ระยะทาง ไม่เกิน 300 กม. คิดค่าเดินทาง = 2,500 บาท
ระยะทาง 300 – 500 กม. คิดค่าเดินทาง = 3,000 บาท
ระยะทาง 500 กม. ขึ้นไป คิดค่าเดินทาง = 4,000 บาท

หมายเหตุ

กรณีพิจารณาคดีออนไลน์ไม่มีค่าพาหนะ

ค่าเดินทางดังกล่าวไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่ทางราชการหรือเอกชนออกให้ (ตามใบเสร็จรับเงิน)

หรือ ในราคาตกลงกัน แล้วแต่กรณี

Scroll to Top