หนี้นอกระบบกับกองทุนหมู่บ้าน

หนี้นอกระบบกับกองทุนหมู่บ้าน

คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กำหนดแนวทางการแก้หนี้นอกระบบสำหรับสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน มาตั้งแต่ ปี 2544 

 

สถานการณ์หนี้นอกระบบ

ปัญหาหนี้นอกระบบในปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2566 มักมีข่าวร้าย เกี่ยวกับการทวงหนี้ การฆ่าตัวตาย อันเป็นผลมาจากการเป็นหนี้นอกระบบ อยู่ในข่าวหน้าหนึ่ง ของหนังสือพิมพ์ไทย แทบทุกวัน การเป็นหนี้นอกระบบ เป็นปัญหาที่นำไปสู่อันตรายในชีวิตและทรัพย์สินของลูกหนี้ เนื่องจากถูกทวงหนี้โดยใช้ความรุนแรง เช่น การข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย หรือทำลายทรัพย์สิน นอกจากปัญหาความรุนแรงจากการทวงหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังอาจเผชิญปัญหาการทำสัญญากู้ยืมที่อำพรางดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนด (15% ต่อปี) ปัญหาหนี้นอกระบบของประเทศไทยเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้นและส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมากในประเทศ หนี้นอกระบบหมายถึงการกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ที่ไม่ได้รับการควบคุมซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ยสูงเกินไปและอาจควบคุมไม่ได้อย่างรวดเร็ว วงจรของหนี้สินสามารถทำลายล้างบุคคลและครอบครัว นำไปสู่ความไม่มั่นคงทางการเงิน ความเครียด และแม้แต่ความยากจน ในบทความนี้ เราจะมาสำรวจวิธีแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของประเทศไทยที่อาจเป็นไปได้

สาเหตุของการกู้เงินนอกระบบ

การกู้ยืมเงินแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. การลงทุนในการประกอบอาชีพ 2. ค่าใช้จ่ายจำเป็น เช่น ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ค่ารักษาพยาบาล และค่าเล่าเรียน 3. ใช้คืนหนี้เก่าทั้งในระบบและนอกระบบ และ 4. ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ซื้อเครื่องประดับ และโทรศัพท์มือถือ ของหนี้นอกระบบจะถูกนำมาใช้เพื่อค่าใช้จ่ายจำเป็นและ หนี้นอกระบบถูกนำไปลงทุนในการประกอบอาชีพเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงส่วนน้อย ของหนี้นอกระบบเท่านั้นที่ถูกกู้มาเพื่อใช้จ่ายหนี้อื่น ๆ และมีส่วนน้อยมากจะถูกนำมาใช้สำหรับค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น

แนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

อันดับแรกต้อง เพิ่มการศึกษาทางการเงินและการรู้หนังสือ
สาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้ผู้คนหันไปหาผู้ให้กู้นอกระบบคือการขาดการศึกษาทางการเงินและการรู้หนังสือ ด้วยการให้การศึกษาทางการเงินที่เข้าถึงได้และครอบคลุมมากขึ้น บุคคลสามารถเข้าใจความเสี่ยงและผลที่ตามมาของการกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ที่ไม่มีการควบคุมได้ดีขึ้น โปรแกรมความรู้ทางการเงินยังสามารถสอนบุคคลถึงวิธีจัดการการเงินอย่างมีประสิทธิภาพและหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้มากเกินไป

ควบคุมธุรกรรมเงินกู้นอกระบบ

ปัจจุบัน ผู้ให้กู้นอกระบบในประเทศไทยดำเนินการโดยปราศจากกฎระเบียบหรือการกำกับดูแล รัฐบาลสามารถกำหนดระเบียบเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ให้กู้มีความโปร่งใสเกี่ยวกับค่าธรรมเนียม อัตราดอกเบี้ย และเงื่อนไขการชำระคืน สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้กู้ได้รับความคุ้มครองมากขึ้นและลดความเสี่ยงจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ

ให้การเข้าถึงสินเชื่อที่เหมาะสม

หลายคนหันไปหาผู้ให้กู้นอกระบบเพราะพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อที่เหมาะสมจากสถาบันการเงินที่เป็นทางการ เช่น ธนาคาร รัฐบาลสามารถจัดตั้งโครงการที่ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่บุคคลที่ต้องการ สิ่งนี้จะเป็นทางเลือกแทนการปล่อยกู้นอกระบบและลดความเสี่ยงของบุคคลที่จะติดอยู่ในวงจรหนี้

เสริมกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

ขณะนี้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของไทยยังอ่อนแอ ซึ่งทำให้ผู้ให้กู้นอกระบบเอาเปรียบผู้กู้ได้ง่ายขึ้น รัฐบาลสามารถเสริมสร้างกฎหมายเหล่านี้เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคดีขึ้นและลดความเสี่ยงจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ

ถานการณ์ของกองทุนหม๔่บ้านและชุมชนเมือง 17,000 กว่า กองทุน ปัจจุบัน มีเป็นจำนวนมาก ที่กลับประสบปัญหาหนี้เสียเสียเอง กองทุนหมู่บ้าน หลายแห่งทั่วประเทศ ต้องถูกสถาบันการเงิน ฟ้องร้อง บังคับคดีเอากับคณะกรรมการ เป็นจำนวนมาก สถาบันการเงินชุมชน ที่เคยประสบความสำเร็จหลายแห่ง ก็ประสบปัญหา หยุดกิจการ เงินของสมาชิกหายไป เป็นจำนวนหลายสถาบัน ตามที่เป็นข่าวคราวในหน้าหนังสือพิมพ์

แนวทางการแก้หนี้นอกระบบ ของ ผอ.สทบ.

เมื่อ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผอ.สทบ. มีคำสั่ง สทบ.ที่ 68/2566 แต่งตั้งคณะทำงานการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ลงวันที่ 28 กพ. 2566 โดยมอบหมาย นายวิชิต เครือสุข รองผอ.สทบ.เป็นประธานคณะทำงาน
โดยคณะทำงานดังกล่าวมีรายชื่อตามเอกสารแนบท้ายบทความนี้ มีอำนาจหน้าที่ ศึกษาและถอดบทเรียนจากกองทุนหมู่บ้านฯที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ พิจารณาปรับปรุงแนวทางและวิธีการให้มีประสิทธิภาพ กำหนดแนวทางดำเนินการ วิธีการในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบสมาชิกกองทุนฯให้มีความยั่งยืน รวมทั้งติดต่อ ประสานงานกับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอข้อมูล คำแนะนำ ข้อเสนอแนะที่จำเป็นต่อการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ โดยให้รายงานความคืบหน้าต่อ ผอ.สทบ.ต่อไป

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมฃนเมืองแห่งชาติ โดย นายเบญจพล นาคประเสริฐ   ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้          ตั้งคณะทำงานศึกษาและถอดบทเรียนจากกทบ.ที่ประสบความสำเร็จ รวมถึง ปรับปรุงแนวทางและวิธีการแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการดำเนินคดี
กระบวนพิจารณาคดีในศาล จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก จึงต้องมีการกำหนดวิธีปฏิบัติตามวันนัดพิจารณาคดีแต่ละนัดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม

ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่ง
1. ยื่นคำฟ้อง คำให้การ คำร้อง
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่กล่าวในฟ้องมีพยานหลักฐานให้ศาลเชื่อได้ โจทก์เรียกร้องอะไรจากจำเลย
2. นัดพร้อม
เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายมาศาลและต้องการที่จะให้มีการตกลงเจรจา ไกล่เกลี่ย กันก่อน ศาลจะสอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายว่าต้องการที่จะตกลงกันก่อนหรือไม่ มีพยานกี่ปาก แนวทางการสืบพยาน
3. นัดไกล่เกลี่ย
เมื่อเข้าห้องไกล่เกลี่ย เมื่อตกลงกันได้ก็จะมีการถอนฟ้องหรือทำสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่หากตกลงกันไม่ได้ สำนวนคดีก็จะถูกส่งกลับมาที่ห้องพิจารณาเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
4. นัดชี้สองสถาน
คือการกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีและหน้าที่นำสืบ
5. นัดสืบพยาน
สืบพยานโจทก์ พยานจำเลย
6. นัดฟังคำพิพากษา ศาลจะอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง ศาลจะวินิจฉัยพยานหลักฐานทั้งปวงในคดี ถ้าศาลเห็นว่าพยานหลักฐานฝ่ายไหนมีเหตุผลน่าเชื่อกว่าก็ตัดสินให้ฝ่ายนั้นชนะ

ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา

1. ยื่นคำฟ้อง

โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการจะต้องตรวจดูว่ามีพยานหลักฐานสนับสนุนว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่ และการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อกฎหมายหรือไม่

2. นัดไต่สวนมูลฟ้อง เฉพาะในคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ได้มีการสอบสวนมาแล้ว ปกติจะไม่มีการไต่สวนมูลฟ้อง พนักงานอัยการเพียงแต่นำตัวจำเลยมาศาลเพื่อยื่นฟ้อง

ส่วนคดีอาญาที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์เองก็ต้องเริ่มด้วยการไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ต้องนำพยานมาสืบให้ศาลเห็นว่าคดีของตนมีมูลที่ศาลจะรับฟ้องไว้พิจารณา โดยจำเลยจะมาฟังการไต่สวนมูลฟ้องหรือไม่ก็ได้ ถ้าศาลเห็นว่าคดีมีมูลจะสั่งรับฟ้อง และศาลจะออกหมายเรียกให้จำเลยมาสู้คดี

3. นัดสอบคำให้การจำเลย

เมื่อจำเลยมาศาลแล้วศาลจะอ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่าจะให้การอย่างไร ถ้าจำเลยปฏิเสธก็จะมีการนัดสืบพยานต่อไป

4. นัดตรวจพยานหลักฐาน

กรณีมีพยานหลักฐานมาก ศาลอาจเห็นว่าหรือคู่ความร้องขอ

5. นัดสืบพยาน

โจทก์มีหน้าที่นำพยานหลักฐานเข้าสืบก่อน ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด และจำเลยนำพยานหลักฐานสืบแก้ เมื่อสืบพยานเสร็จ ศาลจะนัดฟังคำพิพากษาต่อไป

6. นัดฟังคำพิพากษา

ในการตัดสินคดีศาลจะวินิจฉัยพยานหลักฐานทั้งปวงในคดี พยานหลักฐานของโจทก์ว่าสามารถฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดจริง โดยปราศจากข้อสงสัยอันสมควร ยกฟ้อง อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง

ค่าบริการในการว่าความในศาลชั้นต้น

1. คดีแพ่ง

คดีไม่มีข้อพิพาทหรือคดีไม่มีทุนทรัพย์

เป็นคดีที่มีการร้องขอฝ่ายเดียว เพื่อใช้สิทธิทางกฎหมาย เช่น คดีร้องจัดการมรดก, คดีร้องขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ หรือบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น ค่าว่าความคิดขั้นต่ำคดีละ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)

หมายเหตุ กรณีมีการคัดค้านหรือมีการต่อสู้คดี ก็จะมีการตกลงกันอีกครั้ง

คดีมีข้อพิพาท หรือคดีมีทุนทรัพย์

กรณีที่ท่านเป็นโจทก์หรือโจทก์ร่วม ท่านต้องชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีดังต่อไปนี้

คดีทุนทรัพย์ (บาท)ค่าทนายความ (บาท)ค่าวิชาชีพ(บาท)ค่าบังคับคดี   (ร้อยละ)
ไม่เกิน 50,000ขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณีขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณี30
50,001 ถึง 100,00015,00010,00030
100,001 ถึง 300,00030,00012,00030
300,001 ถึง 500,00035,00014,00030
500,001 ถึง 800,00040,00015,00020
800,001 ถึง 1,000,00045,00017,00020
1,000,001 ถึง 2,000,00050,00018,00010

2,000,001 ถึง 3,000,000

60,00019,00010
3,000,001 บาทขึ้นไปขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณีขึ้นกับข้อตกลงเป็นกรณี10

เงื่อนไขการดำเนินงาน
1. ท่านต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียม(ค่าขึ้นศาล)และค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการนำส่งคำ คู่ความเองเป็นค่าธรรมเนียมตามปกติของศาล

(ตามใบเสร็จรับเงิน) ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

คดีมโนสาเร่ ทุนทรัพย์ที่ฟ้อง ไม่เกิน 300,000 บาท เสียค่าขึ้นศาลไม่เกิน 1,000 บาท
คดีมีแพ่งสามัญ ทุน ทรัพย์ที่ฟ้อง ไม่เกิน 50 ล้านบาท เสียค่าขึ้นศาล ร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท
ขึ้นไป เสียค่าขึ้นศาล ร้อยละ 0.1 บาท
ค่านำหมาย,ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ (ถ้ามี),ค่าพาหนะของพยานหมาย (ถ้ามี)เป็นต้น
2. ท่านต้องชำระค่าทนายความตามทุนทรัพย์ก่อนที่จะทำคำฟ้องยื่นต่อศาล
3. ค่าบังคับคดี บริษัทฯ จะเรียกเก็บจากท่านต่อเมื่อมีการบังคับคดี หากไม่มีการบังคับคดีท่านไม่ต้องจ่ายค่าบังคับคดี
4. ค่าว่าความ (อัตราร้อยละ) ทางบริษัทฯ คิดตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง (ตามฟ้อง) และบริษัทฯ จะเรียกเก็บจากท่านต่อเมื่อ

ท่านได้รับเงินจากลูกหนี้หรือจำเลยแล้ว(ตามเกณฑ์เงินสดที่ท่านได้รับ)
5. กรณีทนายความไปศาลต่างจังหวัด บริษัทฯ จะเรียกเก็บอัตราค่าเดินทางไปศาลในแต่ละครั้ง ตามอัตราดังต่อไปนี้

ระยะทาง ไม่เกิน 300 กม. คิดค่าเดินทาง = 3,500 บาท
ระยะทาง 300 – 500 กม. คิดค่าเดินทาง = 4,500 บาท
ระยะทาง 500 กม. ขึ้นไป คิดค่าเดินทาง = 6,500 บาท
***สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร ท่านไม่ต้องชำระค่าเดินทางในส่วนนี้
หมายเหตุ

ค่าเดินทางดังกล่าวไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าที่พัก,ค่าตั๋วรถเดินทาง,ค่าน้ำมันรถยนต์,ค่าธรรมเนียมอื่นๆที่ทางราชการ หรือเอกชน

ออกให้ (ตามใบเสร็จรับเงิน)
6. คดีนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว จะตกลงกันตามความยากง่ายของการดำเนินคดี
7. การว่าจ้างมีการทำสัญญาว่าจ้างว่าความทุกครั้ง เพื่อให้ท่านเกิดความมั่นใจในการจ้างทนายความ

กรณีที่ท่านเป็นจำเลยหรือจำเลยร่วมในคดีแพ่ง
ในคดีที่มีการร้องสอดหรือร้องคัดค้านให้เป็นคดีมีข้อพิพาท คิดค่าว่าความ จำนวน 15,000 บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

คดีที่ท่านถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีแพ่ง
ก.) คดีที่มีข้อพิพาทจากมูลละเมิด คิดค่าว่าความขั้นต่ำ ตั้งแต่ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ขึ้นไป
ข.) คดีที่มีข้อพิพาทจากนิติกรรมสัญญา คิดค่าว่าความขั้นต่ำ ตั้งแต่ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ขึ้นไป

ต่างจังหวัด ท่านต้องชำระค่าเดินทาง ตามอัตราดังต่อไปนี้

ระยะทาง ไม่เกิน 300 กม. คิดค่าเดินทาง = 2,500 บาท
ระยะทาง 300 – 500 กม. คิดค่าเดินทาง = 3,000 บาท
ระยะทาง 500 กม. ขึ้นไป คิดค่าเดินทาง = 4,000 บาท

หมายเหตุ

กรณีพิจารณาคดีออนไลน์ไม่มีค่าพาหนะ

ค่าเดินทางดังกล่าวไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่ทางราชการหรือเอกชนออกให้ (ตามใบเสร็จรับเงิน)

หรือ ในราคาตกลงกัน แล้วแต่กรณี

Scroll to Top